ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกานั้นคืออะไรและมีอะไรที่น่าสนใจบ้างในปัจจุบันสาระน่ารู้ที่ไม่ควรพลาด
ตลาดหุ้นหรือการรวมตัวของผู้ซื้อและผู้ขายหุ้นซึ่งแสดงถึงการอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในธุรกิจ อาจจะรวมถึงหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สาธารณะหรือหุ้นของบริษัทที่มักจะขายผ่านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เราเรียกว่าโบรกเกอร์(Broker)
ตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนีที่ถูกจัดอันดับการซื้อขายมากที่สุดที่น่าสนใจมีดังนี้
1.หุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ย่อมาจาก The Dow Jones Industrial Average (DJIA) คือ ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่คำนวณมูลค่าจากบริษัทมหาชนที่ใหญ่สุด 30 บริษัทจากตลาดหุ้น NYSE และ Nasdaq (ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก, ตลาดแนสแด็ก) จะเรียกหุ้นกลุ่มนี้ว่า Bluechip เป็นกลุ่มหุ้นเก่าแก่ที่มีมาตั่งแต่สมัยแรกๆ เป็นดัชนีที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท The Wall Street Journal และ Dow Jone & Company นักลงทุนส่วนใหญ่จะใช้ดัชนีดาวโจนส์ที่เป็นกลุ่มหุ้นอุตสหกรรมในการมองภาพรวมเศรษฐกิจหรือคาดเดาสถานการณ์เศรษฐกิจเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้นและระยะยาวได้ หากจะรู้จักกลุ่มหุ้นที่มีชื่อเสียง เช่น Apple Inc. IMB, 3M, Nike และ Microsoft เป็นต้น
2. เอสแอนด์พี500 ย่อมาจาก Standard & Poor’s 500 (S&P 500) เป็นกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับต้นๆของสหรัฐถึง 500บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นNew York และตลาด Nasdaq หรือ Investors Exchange โดยพิจารณาจากสภาพคล่องของบริษัทและชนิดของอุตสาหกรรมโดยมีการปรับดัชนีหุ้นเป็นไตรมาสทุกปี รวมถึงบริษัทต้องอยู่ในสหรัฐอเมริกา มูลค่าทางการตลาดอย่างน้อย 6.1 พันล้านเหรียญ และหุ้นของบริษัทจะต้องเปิดเผยต่อสาธารณะอย่างน้อย 50% ราคาหุ้นต่อหน่วยมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1ดอลล่าร์ต่อหุ้น ทั้งนี้ผลกำไรต้องไม่ต่ำกว่า 4ไตรมาสติดต่อกันจึงจะสามารถเข้าเกณฑ์ของกลุ่มหุ้น S&P 500ได้ เช่นบริษัทที่มีชื่อเสียงเช่น Amazon.com Inc., Facebook, PayPal และ Pfizer ดั้งนั้นกลุ่มนักลงทุนจึงมองภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจากดัชนีตลาดหุ้น S&P 500 ซึ่งมีมูลค่าของตลาดหุ้นทั้งหมดกว่า 80%
3.ดัชนีคอมโพสิตแนสแด็ก ย่อมาจาก Nasdaq Composite Index(Nasdaq) ครอบคลุมหุ้นมากกว่า 2,500 ตัวมากกว่าดัชนีตลาดหุ้นอื่นๆเนื่องจากคอมโพสิตตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514 จึงเป็นดัชนีตลาดหลักที่มีคนติดตามและเสนอราคากันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตัวหนึ่งหลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ในดัชนีNasdaq ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นสามัญ ADR หุ้นที่เป็นประโยชน์หรือผลประโยชน์จากหุ้นส่วนจำกัดและการติดตามหุ้นหุ้นบางตัวที่จดทะเบียนใน Nasdaq ได้แก่ Apple, Microsoft, Amazon, Facebook, Alphabet เป็นต้น และมีบริษัทเทคโนโลยีประมาณ 390 แห่งที่ครองดัชนีประมาณ 49.67%
4.ดัชนีแนสแด็ก100 ย่อมาจาก Nasdaq 100(NASD 100) ประกอบด้วยบริษัทต่างๆในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักๆได้แก่ อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค การดูแลสุขภาพ บริการผู้บริโภค โทรคมนาคม สาธารณูปโภค และเทคโนโลยี ซึ่งไม่รวมหุ้นของธนาคารและบริษัททางการเงิน หุ้นอันดับต้น ๆ ของสหรัฐตามน้ำหนักใน Nasdaq 100 ได้แก่ Microsoft, Apple, Amazon, Alphabet (Google), Facebook, Intel, Cisco Systems, Comcast และ Pepsico เป็นต้น นักลงทุนส่วนใหญ่จะมองภาพรวมการลงทุนแนสแด็ก100 ไปทางเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่
5.ดัชนีรัสเซล 2000 ย่อมาจาก RUSSEL 2000(RUSS 2K) เป็นกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก2000แห่งที่มีมูลค่ารวมถึง 8%ของตลาดซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของกลุ่มหุ้นขนาดเล็กในตลาดหุ้นสหรัฐจากการรวมกันของมูลค่าตามราคาตลาดและการเป็นสมาชิกดัชนีปัจจุบัน ดัชนี Russell 2000 มีบริษัทที่เล็กที่สุดเกือบ 2,000 แห่งที่จดทะเบียนบนแพลตฟอร์มอันที่จริง ดัชนี Russell 2000 เป็นเซตย่อยของดัชนี Russell 3000 และคิดเป็นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมดของดัชนีนั้นRussell 2000 ถูกสร้างขึ้นใหม่ทุกปีเพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นขนาดใหญ่จะไม่บิดเบือนประสิทธิภาพและลักษณะของดัชนีหุ้นขนาดเล็กที่แท้จริง
การลงทุนกับหุ้นต่างประเทศ เริ่มอย่างไรดี
1.ลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ (Mutual Fund) สำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนระดับเริ่มต้นที่สนใจลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Apple, Amazon, Alibaba, Facebook, Netflix, Microsoft, Tesla ซึ่งเป็นหุ้นต่างประเทศ สำหรับมือใหม่ไม่จำเป็นต้องเปิดพอร์ตต่างประเทศให้ยุ่งยาก แนะนำให้ลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำของไทย เช่น บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด, บลจ. หลักทรัพย์ บัวหลวง, บลจ. กสิกรไทย, บลจ. กรุงศรี และ บลจ. ทหารไทย จำกัด เป็นต้น
ข้อดีสำหรับผู้ลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ เป็นการลงทุนเริ่มต้นที่มูลค่า 500 บาท เป็นต้นไป เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลและกระจายความเสี่ยงให้ ซึ่งลลงทุนง่ายผ่านธนาคารหรือโบรกเกอร์
ข้อเสียสำหรับผู้ลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศผ่านธนาคารหรือโบรเกอร์ ไม่สามารถลงทุนกับหุ้นรายตัวได้ และค่าธรรมเนียมสูงกว่ากองทุนในหุ้นไทย อีกทั้งสภาพคล่องต่ำ (T+5)
2.ลงทุนผ่านโบรกเกอร์ในไทย (OffShore Investment) เป็นการลงทุนผ่านตัวกลางหรือบริษัทโบรกเกอร์ที่อยู่ในไทย เช่น SCB, KBANK, Kim Eng, Tisco สามารถลงทุนกับหุ้นรายตัวได้ มีบทวิเคราะห์ให้ศึกษา ติดตามง่ายมีเจ้าหน้าที่ดูแลให้คำแนะนำทั้งการซื้อการขาย ซึ่งค่าบริการหรือคอมมิชชั่นก็จะต่างกันออกไปแต่ละโบรกเกอร์
ข้อดีของการลงทุนกับหุ้นรายตัวผ่านโบรกเกอร์ นักลงทุนสามารถเลือกหุ้นที่สนใจได้โดยไม่ต้องเฉลี่ยแบบกองทุนรวม ซึ่งนักลงทุนต้องศึกษารายละเอียดของหุ้นตัวนั้นหรือแนวโน้มที่ดีในการตัดสินใจลงทุน
ข้อเสียการลงทุนกับหุ้นรายตัวผ่านโบรกเกอร์ต้องใช้เงินลงทุนสูง ขั้นต่ำอยุ่ที่ 100,000 บาทขึ้นไป รวมทั้งค่าธรรมเนียมและคอมมิชชั่นที่ค่อนข้างสูง และทั้งนี้ยังไม่รวมถึงปัจจัยความเสี่ยงในการลงทุนที่สูงเช่นกันเนื่องจากการลงทุนแบบกองทุนรวมจะเฉลี่ยความเสี่ยงออกไป
3. การลงทุนผ่านโบรกเกอร์สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD Broker) เป็นการทำสัญญาซื้อขายที่เราทำไว้กับโบรกเกอร์นั้น สามารถได้รับผลตอบแทนเหมือนเราซื้อหุ้นนั้นไว้จริง ซึ่งการซื้อขายจะมีทั้งการซื้อสัญญาฝั่งซื้อ (BUY) กับฝั่งขาย (SELL) นักลงทุนสามารถทำกำไรได้จากการทำสัญญาซื้อขายกับโบรกเกอร์ทั้งขาขึ้นและขาลง เหมาะกับลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง ชอบเก็งกำไร มีความรู้ด้านการเทรดและเทคนิคต่างๆ เป็นอย่างดี เช่น eToro, Mitrade, XM, FXTM และ FBS
ข้อดีการลงทุนผ่านโบรกเกอร์สัญญาซื้อขายส่วนต่างใช้เงินในการลงทุนเพื่อเปิดพอร์ตต่ำ เริ่ม 100 บาท ขึ้นไปก็สามารถซื้อขายได้ ค่าธรรมเนียมต่ำหรือบางโบรกเกอร์ซื้อขายโดยไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถลงทุนในหุ้นรายตัวหรือซื้อเป็นเศษหุ้นได้ เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง และมีประสบการณ์ความรู้ในการเทรดเป็นอย่างดี
ข้อเสียการลงทุนผ่านโบรกเกอร์สัญญาซื้อขายส่วนต่างนี้ไม่ใช่เป็นการลงทุนหรือซื้อขายหุ้นโดยตรงโดยที่เราเป็นเจ้าของเพียงแต่ซื้อขายสัญญาผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น โบรกเกอร์ส่วนใหญ่บริษัทจัดตั้งเป็นต่างชาติ ฝากเงินหรือเปิดบัญชีมีความเสี่ยงในการถูกโกงสูง และยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลในไทย
ข้อแนะนำสำหรับนักลงทุนมือใหม่
การลงทุนหุ้นต่างประเทศมีการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆมากมายหลายรูปแบบผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนให้ละเอียด เช่น การเลือกลงทุนกับโบรกเกอร์เป็นปัจจัยแรกๆ ที่มือใหม่ควรให้ความสำคัญรวมทั้งรูปแบบการซื้อขายหุ้นในตลาด ทั้งกองทุนรวม หุ้นรายตัว หรือซื้อขายแบบสัญญากับโบรกเกอร์ แต่แนวทางในการวิเคราะห์หุ้นส่วนใหญ่จะไปในทิศทางเดียวกัน คือ วิเคราะห์การเมือง เศษฐกิจ หรือแนวโน้มการเติบโตของตลาด ซึ่งสามารถอ้างอิงจากดัชนีหุ้นต่างๆที่นิยมในสหรัฐเป็นอันดับต้นๆได้ เช่น ดัชนี Dow Jones, ดัชนี Nasdaq100 และ ดัชนี S&P 500 นักลงทุนสามารถศึกษาหรืออ้างอิงการเติบโตของดัชนีหุ้นเหล่านี้ได้
เวลาซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา GMT-5 / GMT-4 (Daylight Savings)
ช่วงเวลาซื้อขาย (วันจันทร์ - วันศุกร์) 06:30 AM – 20:00 PM (NY,USA) หรือ 17:30 - 07.00 (Morning) (Thailand)
หมายเหตุ : ตลาดอเมริกาจะปรับเวลาเร็วขึ้น 1 ชม.เริ่มวันอาทิตย์ที่สองของเดือนมีนาคมจนถึงวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายน โดยช่วงเวลาจะเปลี่ยนแปลงเวลาซื้อขายเป็น 20.30น. ถึงเวลา 3.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย
Comments
D. jhon shikon milon
Is this article helpful to you?
LikeReply