ความหมายและลักษณะต่างๆของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ความรู้พื้นฐานที่ควรทราบรวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้

    การวิเคราะห์ราคาของสินทรัพย์นั้นมีวิธีการแท้จริงแล้วถูกแบ่งออกด้วยกันเป็นสองแบบ นั่นคือ การวิเคราะห์เรื่องปัจจัยทางเทคนิคเป็นอย่างแรก ส่วนอย่างที่สองคือการวิเคราะห์อิงปัจจัยพื้นฐานการเงินตลาด อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมักจะนิยมศึกษาการวิเคราะห์ทางเทคนิคมากกว่า เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจได้ในระยะเวลาอนสั้น อีกทั้งยังเป็นเทคนิคที่มีคุณภาพที่สามารถทำให้นักลงทุนทำกำไรในได้ในระยะเวลาอันสั้น


    ถ้ากล่าวถึงความหมายของการวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือ Technical Analysis สิ่งนี้คือศาสตร์ชนิดหนึ่งที่นักเทรดใช้เพื่อตรวจสอบและดูศึกษาประเภทของราคาสินทรัพย์ทางการเงินในแบบต่างๆ ดังเช่นว่า สินทรัพย์แบบหุ้น ฟอร์เร็กซ์ เมื่อศึกษาแล้วสิ่งดังกล่าวนั้นมีเป้าหมายในการอธิบายถึงเหตุและผลของการตั้งค่ารูปแบบนั้นๆ ซึ่งจะนำพาไปถึงการคาดคะแนความน่าจะเป็นของราคา การวิเคราะห์ทางเทคนิคนี้ หลักๆสามารถแบ่งออกเป็นสามแบบ

    • ประเภทกราฟแท่งเทียน Candlestick Pattern กราฟแท่งเทียนมักถูกใช้โดยนักลงทุนเพื่อคาดคะเนตรงส่วนของแนวรับและแนวต้าน กราฟประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักลงทุนเนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นกราฟที่วิเคราะห์ว่าและไม่ซับซ้อนมากนัก แม้จะสามารถวิเคราะห์ได้ง่ายแต่คุณภาพของการคาดคะเนก็ค่อนข้างแม่นยำ โดยราคาปิดเปิด ราคาที่อยู่สูงสุดและต่ำสุดของแท่งเทียนแท่งหนึ่งๆ จะถูกพิจารณา

    • ประเภทกราฟขอราคา Chart Pattern นักลงทุนสามารถใช้เครื่องมือที่เรียกกันว่า Trendline ในการตั้งค่ารูปแบบเพื่อใช้ในการพิจารณา ชุดกลุ่มของแท่งเทียน ซึ่งถูกรวบเข้าด้วยกันสำหรับช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่านักเทรดใช้ Trendline ในการตั้งค่าประเภทของกราฟแบบสามเหลี่ยมที่สมมาตร Symmetrical Triangle ก็สามารถทำได้ด้วย

    • นำอินดิเคเตอร์ Indicator มาใช้ ค่าเฉลี่ยของราคามักถูกนำมาอ้างอิงใช้ในเทคนิคส่วนมาก ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์ของการใช้อินดิเคเตอร์ Moving Average ถูกนำมาจากกราฟที่ถูกพล็อตโดยค่าเฉลี่ย หรือ อาจทำการเปลี่ยนเป็นค่าดัชนีดังเช่นแบบ RSI และ Stochastic

    นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่นๆอีกมากมายที่นักลงทุนสามารถนำมาวิเคราะห์ทางเทคนิคโดยเน้นเกี่ยวกับหลักทรัพย์ได้ แต่ในทุกวิธีนั้นจะมีหัวใจหลักสำคัญคล้ายๆกันนั่นคือนักลงทุนจำเป็นจะต้องหาข้อมูลของราคาเก่าๆย้อนหลังมาเพื่อวิเคราะห์รูปแบบราคาที่มักเกิดขึ้นซ้ำกัน ทุกๆอย่างมักมีแบบแผนของมัน ซึ่งแพตเทิร์นของราคาดังกล่าวเหล่านี้มักจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคาดเดาทิศทางความเป็นไปของตลาดได้อย่างเฉียบคม อีกทั้งยังสามารถหาจุดเข้าและออกของตลาดได้อีกด้วย

    ทฤษฎีเบื้องต้นที่ควรทราบสำหรับการทำ Technical Analysis

    ทฤษฎีดาว (Dow Theory) โดยนักทฤษฎีและเทคนิคหลายท่านมักยกให้ทฤษฎีนี้เป็นหลักทางการวิเคราะห์ทางเทคนิค เนื่องว่าหลักทางเฉพาะทางที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย ณ ยุค ปัจจุบัน นั้นส่วนมากมักได้พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีดาวนี่เอง ซึ่งในทฤษฎีนี้มีเนื้อหาและส่วนประกอบอยู่หลากหลายมาก หากแต่ว่าสามหัวข้อที่มีความสำคัญที่สุดในการนำมาใช้นั่นคือ

    1.  Price discounts everything – ตัวเลขราคาที่ได้บอกถึงข้อมูลที่ถูกสะท้อนไว้อยู่แล้วทั้งหมด

    2.  Price movements are not totally random – ราคานั้นผันเปลี่ยนโดยมีแนวโน้ม ไม่ใช่แบบสุ่ม

    3.  “What” is more important than “Why” – ‘ทำไม’ อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่ ‘อะไร’ ต่างหาก นักวิเคราะห์มักจะใส่ใจเลขราคาบนกราฟ มากกว่าการถามหาเหตุผลว่าทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น

    คำอธิบายเพิ่มเติมที่สำคัญ

    Price discounts everything – ตัวเลขราคาที่ได้บอกถึงข้อมูลที่ถูกสะท้อนไว้อยู่แล้วทั้งหมด

    กล่าวคือราคาบนกราฟนี้ได้ถูกใช้ข้อมูลรายละเอียดไว้หมดแล้ว ข้อมูลดังกล่าวนั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงตัวเลขราคาบนกราฟ โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ถูกตอบสนองโดยทุกคนที่อยู่ภายในตลาดนั้น ซึ่งถูกตอบสนองในราคาระดับที่ปรากฏ ประเภทของข้อมูลมีหลายอย่าง เช่น ข้อมูลผู้ใช้พื้นฐานทั่วไป งบทางการเงิน ข่าวทางเศรษฐกิจต่างๆ สภาพภาวะทางจิตของทั้งผู้ซื้อและผู้ชาย โดยนักเทรดและผู้วิเคราะห์มักศึกษาความเป็นไปขอราคาเพื่อคาดคะเนว่าตลาดจะไปในทิศทางไหนในอนาคต

    Price movements are not totally random – ราคานั้นผันเปลี่ยนโดยมีแนวโน้ม ไม่ใช่แบบสุ่ม

    ทฤษฎีดาวทำให้เราเชื่อว่าความเป็นไปของตลาดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญแต่มักเกิดขึ้นจากหลักฐานของแนวโน้ม เช่นราคาขาขึ้น ขาลง หากราคาขึ้นช่วงหนึ่งก็มักมีแนวโน้มที่จะขึ้นเรื่อยๆ หากราคาลงก็มักจะลงเรื่อยๆเช่นกัน โดยหากเราใช้แนวโน้มเป็นตัวกำหนดในการซื้อและการขาย นักเทรดก็ควรจะซื้อเมื่อมีแนวโน้มขาขึ้น และควรขายออกเมื่อมีแนวโน้มขาลง แต่หากว่าอาจมีไม่กี่ครั้งที่อาจมีการพักตัวในราคาเกิดขึ้นระหว่างการมีแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็เกิดขึ้นได้ โดยมักถูกยึดจากช่วง Time Frame ที่นักวิเคราะห์มอง เช่นอาจเป็นรายชั่วโมง รายเดือน ต่างๆ เป็นต้น

    วิธีการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค

    การเลือกอินดิเคเตอร์ให้เหมาะสมกับแนวเทรดที่ตนเองถนัด

    อิดิเคเตอร์หรือภาษาปากที่เรียกว่าอินดี้ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถระบุความเป็นไปได้ในการโอกาสที่ราคาจะเกิดขึ้น สามารถบอกได้ว่าราคาจะเป็นไปในทิศทางใดในอนาคต ซึ่งอินดิเคเตอร์นี้แบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่

    1.  กลุ่ม Trend คือประเภทที่จะระบุทิศทางแนวโน้มของเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตัวอย่างคือTrend Line

    2.  กลุ่ม Volume คืออุปกรณ์ที่จะระบุความหนาแน่นในการซื้อและการขาย ตัวอย่างคือ RSI

    3.  กลุ่ม Price Action อุปกรณ์ประเภทนี้จะแจ้งราคาในปัจจุบัน นั่นคือ Candlestick และ CPI V1.5

    ควรเลือกอินดิเคเตอร์ไม่เกินสามตัว

    แม้ว่าเราจะมีตัวเลือกอุปกรณ์อินดิเคเตอร์ให้ใช้มากมาย แต่เมื่อทำการเทรดจริงแล้วสิ่งที่แนะนำคือไม่ควรใช้เกินกว่าสามตัว เนื่องด้วยเรื่องของสัญญาณที่ถ้าหากนักเทรดใช้อินดิเคเตอร์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน สัญญาณอาจจะติดขัด แล้วเมื่อสัญญาณติดขัดสิ่งที่ตามมาก็คือความบกพร่องให้การประเมินราคา และนั่นอาจเพิ่มความเสี่ยงในการลงทุนของคุณ

    ควรศึกษาเทคนิคใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เพื่อการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด และนำมาซึ่งกำไร

    คำแนะนำเมื่อจะฝึกวิเคราะห์กราฟ

    มันจะเป็นสิ่งที่ง่ายมากหากคุณจะใช้บัญชีเงินจำลอง หรือที่เรียกว่า Demo Account ในการลองฝึกหัดวิเคราะห์ นักเทรดสามารถลองเทรดกราฟได้หลายแบบมากจากบัญชีจำลอง โดยการลองในบัญชีดังกล่าวจะทำให้นักเทรดสามารถเก็บสะสมประสบการณ์ในการวิเคราะห์รวมถึงเรียนรู้เคล็ดลับและกลยุทธ์อีกมากมาย โดยโปรแกรมจำลองจะจำลองทุกอย่างตามความจริงเหมือนตลาดจริงๆ ทั้งราคาและการคำนวณเงิน

    ทริคเพื่อทำการวิเคราะห์ให้ง่ายขึ้น

    เราแนะนำให้นักเทรดใช้แพลตฟอร์ม MetaTrader 5 หรือ MT5 เพราะนักเทรดจะสามารถเปิดบัญชีแบบทดลองโดยไม่ต้องเสียเงิน แถมยังสามารถเปิดได้หลายบัญชี ในตัวโปรแกรมรองรับการซื้อขายทุกสินทรัพย์เช่นกองทุนที่มีชื่อเสียงต่างๆแบบ ETF เทรดน้ำมันและทองคำ

    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply