Pending Order คืออะไร? การเทรดแบบ Pending Order

    1.Pending Order คืออะไร?

    คำสั่งแบบ Pending Order  คือ คำสั่ง หรือฟังก์ชั่นที่เป็นการออกคำสั่งแบบให้รอดำเนินการ หมายถึงการออกคำสั่งให้โบรกเกอร์ของคุณ ซื้อ-ขาย Forex แบบอัตโนมัติ เมื่อราคาตลาดถึงจุดที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นราคาที่คุณต้องการในอนาคต โดยคำสั่ง Pending Order ประเภทนี้ แตกต่างจากออเดอร์ตลาด (Market order) ที่ให้โบรกเกอร์ของคุณ ซื้อ-ขายทันทีตามราคา ณ ปัจจุบันนั้นๆ โดยไม่ต้องรอซื้อ ตามราคาที่กำหนดในอนาคต  


     การที่โบรกเกอร์ หรือแพลตฟอร์มการเทรด มีฟังก์ชั่น Pending Order ให้ใช้นั้น จะเปิดโอกาสให้นักลงทุน หรือเทรดเดอร์ สามารถซื้อ-ขายสกุลเงิน ได้ตามปัจจัยที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ในการเทรดของตัวเทรดเดอร์เอง และยังช่วยให้นักลงทุน หรือเทรดเดอร์สามารถซื้อ-ขาย Forex ได้ตลอดเวลา  แม้จะไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ก็ตาม อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มการเทรดแต่ละตัว ก็อาจจะมีวิธีการซื้อขาย และตั้งค่าคำสั่ง Pending Order แตกต่างกันไปตามแต่ละแพลตฟอร์ม แต่โดยส่วนใหญ่ การตั้งค่า คำสั่ง หรือการใช้งานหลักๆ ของคำสั่ง Pending Order ก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน

    2. รู้จัก Pending Order: การสร้าง Pending Order

    นักลงทุน หรือเทรดเดอร์ที่ต้องการสร้างคำสั่ง Pending Order หากคุณใช้แพลตฟอร์มการเทรด Forex ของ MetaTrader และต้องการเลือกคำสั่ง Pending Order เพื่อตั้งค่าการซื้อ-ขาย ในอนาคต แบบอัตโนมัติ คุณต้องไปที่ “Order” ซึ่งจะอยู่ในคำสั่งหลัก “Tool” โดยคุณสามารถเลือกคำสั่ง F9 ซึ่งเป็น Shortcut หรือคำสั่งลัด จากนั้น ระบบ จะพาคุณเข้าไปที่หน้า “Order” แล้ว ซึ่งตรงนี้ เทรดเดอร์ หรือนักลงทุนที่ต้องการตั้งค่า ประเภทของการเปิดสถานะ โดยเลือก “Pending Order” ที่แถบ “Type”


    จากภาพด้านบนประกอบ นักลงทุน จะต้องคีย์ข้อมูลส่วนต่างๆ ตั้งแต่ช่องด้านบนสุด คือ ช่อง Symbol โดยเทรดเดอร์จะต้องระบุคู่เงินที่เทรดเดอร์ต้องการซื้อ-ขาย ซึ่งจากภาพประกอบด้านบน คือ คู่เงิน EUR/USD หรือ เงินยูโร/ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมา เราจะเห็นช่อง Volume (ปริมาณ) ซึ่งตรงส่วนนี้ นักลงทุน จะต้องบอกปริมาณการซื้อ-ขาย ซึ่งคุณสามารถเลือกปริมาณการซื้อ-ขายตามที่คุณต้องการได้ จากนั้นจะมีส่วนที่เรียกว่า Stop Loss  และ Take Profit ซึ่งอาจจะต้องอธิบายว่าทั้งสองฟังก์ชั่นนี้หมายถึงอะไร

    คำสั่ง Stop Loss

    คำสั่งนี้ใช้เพื่อลดการสูญเสียหากราคาหลักทรัพย์เริ่มเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่ทำกำไร หากราคาหลักทรัพย์ถึงระดับนี้ โพซิชั่นจะถูกปิดโดยอัตโนมัติ คำสั่งดังกล่าวเชื่อมโยงกับสถานะที่เปิดอยู่หรือคำสั่งที่รอดำเนินการเสมอ โดยโบรกเกอร์สามารถวางร่วมกับตลาดหรือคำสั่งที่รอดำเนินการเท่านั้น เทอร์มินัลจะตรวจสอบสถานะซื้อด้วยราคา BID เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของคำสั่งนี้ (คำสั่งจะถูกตั้งค่าให้ต่ำกว่าราคา BID ปัจจุบันเสมอ) และทำกับราคา ASK สำหรับตำแหน่งขาย (คำสั่งจะถูกตั้งค่าเหนือราคา ASK ปัจจุบันเสมอ) ในการทำให้คำสั่ง Stop Loss เป็นอัตโนมัติตามราคา เราสามารถใช้ Trailing Stop ได้

    https://www.metatrader4.com/en/trading-platform/help/positions/orders

    คำสั่ง Take Profit

    คำสั่ง Take Profit มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้กำไรเมื่อราคาหลักทรัพย์ถึงระดับหนึ่ง การดำเนินการตามคำสั่งนี้ส่งผลให้เกิดการปิดสถานะ มันเชื่อมต่อกับตำแหน่งที่เปิด หรือคำสั่งที่รอดำเนินการเสมอ สามารถขอคำสั่งร่วมกับตลาดหรือคำสั่งที่รอดำเนินการเท่านั้น เทอร์มินัลจะตรวจสอบสถานะซื้อด้วยราคา BID เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของคำสั่งนี้ (คำสั่งจะถูกตั้งค่าให้สูงกว่าราคา BID ปัจจุบันเสมอ) และทำกับราคา ASK สำหรับตำแหน่งขาย (คำสั่งจะถูกตั้งค่าให้ต่ำกว่าราคา ASK ปัจจุบันเสมอ) 

    https://www.metatrader4.com/en/trading-platform/help/positions/orders

     

    จากภาพประกอบ เราจะเห็นช่อง Comment สามารถเว้นว่างไว้ได้ หรืออาจจะกรอกข้อมูลต่างๆ สำหรับการเตือนความจำ ต่อการซื้อ-ขายนั้นๆ ก็ได้  ส่วนถัดไป คือช่องที่ระบุว่า Type ซึ่งเป็นส่วนที่นักลงทุนจะต้องกรอก หรือเลือกประเภทการซื้อ-ขาย ว่าเราจะตั้งค่า Pending Order สำหรับการซื้อ-ขายที่เราอยากตั้งราคาที่เราต้องการไว้สำหรับในอนาคต ว่าเป็นแบบใด โดยคำสั่งประเภทต่างๆ ใน Pending Order นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ประกอบด้วย คำสั่ง Buy Limit, Buy Stop, Sell Limit และคำสั่ง Sell Stop ซึ่งคำสั่งแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ซึ่งเราจะได้อธิบายต่อในบทความส่วนถัดไป 

    ถัดจากช่อง Type ของ Pending Order เทรดเดอร์จะต้องระบุราคาที่ต้องการในช่อง at price นอกจากนั้น เทรดเดอร์ที่ต้องการสร้าง Pending Order ต้องระบุระยะเวลาของคำสั่งว่าจะให้ไปสิ้นสุดเมื่อไหร่ในช่อง Expiry (หมดอายุ) เมื่อเทรดเดอร์ สิ้นสุดการกรอกข้อมูลทั้งหมด ให้เทรดเดอร์กดปุ่มส่งคำสั่ง หรือปุ่ม Place เพียงเท่านี้ ก็จะถือว่าการสร้าง หรือตั้งค่าคำสั่ง Pending Order นั้นเสร็จสิ้นแล้ว  

    3. ประเภทของ Pending Order

    คำสั่ง Pending Order คือ คำสั่งซึ่งเป็นเหมือนคำสัญญาระหว่างเทรดเดอร์ และโบรกเกอร์ว่าจะซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในอนาคต คำสั่งประเภทนี้ใช้สำหรับการเปิดสถานะการเทรด หากราคาถึงระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในอนาคต โดยมีคำสั่ง 5 ประเภทที่เทรดเดอร์ สามารถเลือกได้ ประกอบด้วย  Sell Limit, Buy Limit, Sell Stop, และ Buy Stop เราลองมาดูกันว่า คำสั่งแต่ละประเภทมีการใช้งานเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร

    3.1 Buy Limit 

    Buy Limit คือ คำสั่งซื้อ ประเภทหนึ่งของ Pending Order ซึ่งจะถูกตั้งไว้ต่ำกว่าราคาตลาด คำสั่งซื้อประเภทนี้มักจะถูกวางไว้โดยคาดว่าราคาหลักทรัพย์ที่ลดลงถึงระดับหนึ่ง จะเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาตัวอย่าง: หาก EUR/USD เสนอราคา 1.3850/52 ตัวอย่างของขีดจำกัดการซื้อจะเป็น 1.3800 ในกรณีนี้ หากราคาเสนอ EUR/USD ASK ถึง 1.3800 แสดงว่าคุณอยู่ในสถานะซื้อ EUR/USD

    3.2 Buy Stop

    Buy Stop คือ คำสั่งซื้อ ประเภทหนึ่งของ Pending Order ซึ่งจะถูกตั้งไว้เหนือราคาตลาด คำสั่งซื้อประเภทนี้มักจะถูกวางไว้โดยคาดหวังราคาหลักทรัพย์ เมื่อถึงระดับหนึ่งแล้ว จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่าง: หาก EUR/USD เสนอราคา 1.3850/52 ตัวอย่างของ buy stop จะเป็น 1.3900 ในกรณีนี้ หากราคาเสนอ EUR/USD ถึง 1.3900 แสดงว่าคุณอยู่ในสถานะซื้อ EUR/USD


    3.3 Sell Limit

    คำสั่ง Sell Limit คือ คำสั่งขาย ประเภทหนึ่งของ Pending Order ซึ่งจะถุกตั้งไว้อยู่เหนือราคาตลาด คำสั่งประเภทนี้มักจะถูกวางไว้โดยคาดว่าราคาหลักทรัพย์จะลดลง หลังจากที่ได้เพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว ตัวอย่าง: หาก EUR/USD เสนอราคา 1.3850/52 ตัวอย่างของขีดจำกัดการขายจะเป็น 1.3900 ในกรณีนี้ หากราคาเสนอ EUR/USD สูงถึง 1.3900 คุณก็จะขาย EUR/USD


    3.4 Sell Stop

    คำสั่ง Sell Stop คือ คำสั่งขาย ประเภทหนึ่งของ Pending Order ซึ่งจะถูกตั้งค่าไว้ต่ำกว่าราคาตลาด คำสั่งประเภทนี้มักจะถูกวางไว้โดยคาดการณ์ว่า ราคาหลักทรัพย์จะถึงระดับหนึ่งและจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง: หาก EUR/USD เสนอราคา 1.3850/52 ตัวอย่างของการหยุดขายจะเป็น 1.3800 ในกรณีนี้ หากราคาเสนอ EUR/USD สูงถึง 1.3800 คุณก็จะขาย EUR/USD

    4. วิธีการแก้ไข Pending Order


    หากนักลงทุนต้องการแก้ไข หรือปรับเปลี่ยนคำสั่ง Pending Order ที่ได้วางไปแล้ว สิ่งที่นักลงทุนต้องทำ คือ การเลือกคำสั่ง "Modify or Delete Order" หรือดับเบิ้ล คลิก ทางด้านซ้ายของเม้าส์ที่สถานะ Pending Order ในหน้า Terminal – Trade จากนั้น จะมีหน้าต่างสำหรับการแก้ไข หรือปิดออเดอร์แสดงขึ้นมา ให้เทรดเดอร์ป้อนข้อมูลใหม่ ไม่ว่าจะเป็นราคา หรือการตั้งค่าระดับ Stop Loss และ Take Profit ไปจนถึงวัดหมดอายุของออเดอร์  หลังจากที่เทรดเดอร์แก้ไขข้อมูลเสร็จสิ้น เทรดเดอร์จะต้องคลิกคำสั่ง "Modify" เพื่อยืนยันการแก้ไข 

    หลังจากที่การแก้ไข Pending Order ถูกปรับเรียบร้อน ค่าต่างๆ ที่แสดงอยู่ในหน้าต่าง Terminal – Trade ก็จะเปลี่ยนไปด้วย หากเทรดเดอร์เปิดใช้งานฟังก์ชั่น Show trade levels ไว้ในหน้าเทอร์มินัล ระดับคำสั่ง Pending Order และระดับ Stop Loss และ Take Profit ก็จะถูกเปลี่ยนไปตามการแก้ไขบนแผนภูมิเช่นเดียวกัน 

    5.วิธีลบ Pending Order

    สำหรับวิธีการลบ Pending Order ในกรณีที่สถานการณ์ในตลาดมีการเปลี่ยนแปลง คุณสามารถเลือกคำสั่ง "Modify or Delete Order" ในหน้าเมนูของ Pending Order หรือดับเบิ้ล คลิก ฝั่งซ้ายของเมาส์ที่สถานะ Pending Order ในหน้า Terminal – Trade จากนั้น จะมีหน้าต่างสำหรับการแก้ไข หรือปิดออเดอร์แสดงขึ้นมา ถ้าคุณต้องการลบ ให้คลิกเลือกคำสั่ง Delete ทั้งนี้ Pending Order สามารถถูกลบไปโดยอัตโนมัติ ตามกำหนดเวลาที่คุณใส่ไปในช่อง Expiry เช่นกัน  

    หลังจากที่ Pending Order ถูกลบไปแล้ว บันทึกข้อมูลของออเดอร์นั้นๆ จะไปปรากฏอยู่ในหน้าต่าง Terminal – Account History

    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply