วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    หลายๆคนก็ได้เริ่มทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ซึ่งทุกๆคนก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษี แต่หลายๆคนก็สงสัยกันใช่มั้ยว่า การคำนวณภาษีนี่มันคำนวณจากอะไร เช่น ถ้าเราเงินเดือนเท่านี้จะเสียภาษีเท่าไหร่ ซึ่งบทความนี้ก็จะเขียนถึงว่าการคำนวณมันคำนวณจากอะไร และสามารถคิดภาษีได้อย่างไร โดยมนุษย์เงินเดือนนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งตามกฎหมายนั้นกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องทำการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการที่ต้องชำระภาษี ซึ่งสำหรับมนุษย์เงินเดือนนั้นมีวิธีการคำนวณแบบเดียวเท่านั้นคือแบบ ขั้นบันได

    Income Tax Return Guide - Details You Should Know | HDFC Life

    ภาษีแบบขั้นบันได

    ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับภาษีแบบขั้นบันไดกันก่อน โดยการคำนวณภาษีแบบวิธีนี้นั้นจะแบ่งเงินได้สุทธิมาคำนวณ โดยในแต่ละขั้นมันก็แตกต่างกันตามรายได้ของแต่ละคน ซึ่งมันก็จะแปรผันตรงกับรายได้ คือ ยิ่งรายได้มาก ก็ยิ่งเสียภาษีมาก เปรียบเสมือนขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษีแบบขั้นบันได้นั้นจะแบ่งเป็นดังนี้

    อัตราภาษีแบบขั้นบันได

    อัตราภาษีแบบขั้นบันไดนั้น จะเป็นไปแบบตารางด้านล่าง แต่ก่อนที่จะรู้ว่าเราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เราก็ต้องมาคำนวณก่อนว่าเรามีรายได้สุทธิเท่าไหร่

    เงินได้สุทธิต่อปี

    อัตราภาษี

    ภาษีสูงสุดที่ต้องเสียในขั้นนี้

    0 – 150,000 บาท

    ยกเว้นอัตราภาษี

    150,001 – 300,000 บาท

     5%

    7,500 บาท

    300,001-500,000 บาท

     10%

    20,000 บาท

    500,001-750,000 บาท

     15%

    37,500 บาท

    750,001-1,000,000 บาท

     20%

    50,000 บาท

    1,000,001-2,000,000 บาท

     25%

    250,000 บาท

    2,000,001-5,000,000 บาท

     30%

    900,000 บาท

    5,000,000 บาทขึ้นไป

     35%

     

    วิธีการคำนวณรายได้สุทธิ

    กรมสรรพากร : The Revenue Department มีไว้ทำไม ทำหน้าที่อะไรบ้าง มาดู

    การคำนวณรายได้สุทธิคำนวณอย่างไร ก่อนอื่นต้องมารู้จักคำศัพท์ในการคำนวณกันก่อน

    1.รายได้ รายได้ในที่นี้ไม่ได้แค่หมายถึง รายได้ของเราในแต่ละเดือน แต่มันหมายถึงรายได้ทั้งหมดที่คุณได้รับใน 1 ปีภาษี โดยรวมทั้งเงินเดือนที่คุณได้จากงานประจำและงานเสริมของคุณ รวมถึงรายได้ที่คุณได้มาในระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโบนัส เงินปันผล รายได้จากการขายของ เป็นต้น

    2.ค่าใช้จ่าย คือต้นทุนในการทำธุรกิจต่างๆ หรือสิ่งที่คุณถูกหักไปจากเงินเดือน ซึ่งจะถูกหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน เช่นรายได้เป็นเงินเดือน โบนัส และค่าจ้าง สามารถหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมา 50% ของค่าใข้จ่ายแต่ต้องไม่เกิน 100000 บาท ซึ่งคุณสามารถดูได้ที่ตารางด้านล่างว่า ค่าใช้จ่ายที่หักได้มีอะไรบ้าง


    ประเภทเงินได้

    หักค่าใช้จ่าย

    1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง

    50% ไม่เกิน 100,000 บาท

    หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท

    2. เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ

    รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท

    3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

    50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง

    4. ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ

    หักค่าใช้จ่ายไม่ได้

    5. รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

     

        - บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ

    ตามจริงหรืออัตราเหมา

        - ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร

    30%

        - ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร

    20%

        - ยานพาหนะ

    15%

        - ทรัพย์สินอื่น

    30%

     

    10%

    6. วิชาชีพอิสระ

    ตามจริงหรืออัตราเหมา

        - ประกอบโรคศิลปะ

    60%

        - กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม

    30%

    7. รับเหมาก่อสร้าง

    ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%

    8. รายได้อื่น นอกเหนือจาก 1-7 *

    ตามจริงหรืออัตราเหมา 40% และ 60%



     3.ค่าลดหย่อน อันนี้เป็นสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของเรา ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง หรืออาจจะได้รับภาษีคืนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ที่มนุษย์เงินเดือนมักจะมาลดหย่อนได้แก่ ประกันชีวิต และกองทุนต่างๆ เป็นต้น

    การคำนวณเงินได้สุทธิในแต่ละปี

    Hong Kong's tax system explained: why levies are so low, how it competes with Singapore, and why it's 'both out of date and ahead of its time' | South China Morning Post

    ก่อนอื่นเราต้องเริ่มทำการคำนวณ เงินได้สุทธิก่อน เพราะเจ้าตัวเงินได้สุทธิเนี่ย จะเป็นตัวที่เรานำมาคิดฐานภาษีที่จะคำนวณภาษีที่เราต้องจ่ายในขั้นตอนถัดไป ซึ่งเราจะต้องนำรายได้ตลอดปีของเรา ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนต่อปี รายได้จากอาชีพเสริม อื่นๆ มาลบกับค่าใช้จ่ายตามประเภทของรายได้ และมาหักลบกับรายการลดหย่อนภาษี

    โดยสมการเป็นดังนี้ 

    เงินได้สุทธิ = รายได้ต่อปี – ค่าใช้จ่ายต่อปี – ค่าลดหย่อนที่เรามีสิทธิที่จะลดหย่อน 

    ยกตัวอย่างเช่น 

    นาย ก มีรายได้จากเงินเดือนที่บริษัทแห่งหนึ่ง เดือนละ 50000 บาท ดังนั้น

    รายได้ต่อปีของ นาย ก จะเท่ากับ = 50000 บาท x 12 เดือน = 600,000 บาทต่อปี 

    มีค่าใช่จ่ายที่คิดแบบเหมาปีละ 100,000 บาท

    และรายการลดหย่อนของนาย ก มีดังนี้ 

    จ่ายค่าประกันสังคมต่อปีเท่ากับ 9,000 บาทต่อปี และมีการลงทุนในกองทุน LTF 50,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนตัวอีก 60,000 บาท

    โดยสมการจะเป็นดังนี้ 

    เงินได้สุทธิ = รายได้ต่อปี – ค่าใช้จ่ายต่อปี – ค่าลดหย่อนที่เรามีสิทธิที่จะลดหย่อน

    เงินได้สุทธิของนาย ก = 600,000 – 100,000 – (9000 + 50,000+ 60,000) = 381,000

    เพราะฉะนั้นรายได้สุทธิของนาย ก จะอยู่ที่ 381,000 บาท จากนั้นเราก็มาดูว่ามันตรงกับขั้นภาษีแบบอัตราขั้นบันไดที่ขั้นไหน ซึ่งพอกลับขึ้นไปดูในตารางอัตราภาษีแบบขั้นบันได้ เราก็จะมาคำนวณต่อเป็นขั้นบันไดดังนี้

    1.ภาษีแบบขั้นบันได ขั้นที่ 1 

    ช่วงเงินได้ขั้นที่ 1 = 150,000 x 0 = 0 บาท

    2.ภาษีแบบขั้นบันได ขั้นที่ 2

    ช่วงเงินได้ขั้นที่ 2 = 150,000 x 5% = 7,500 บาท 

    3.ภาษีแบบขั้นบันได ขั้นที่ 3 

    ช่วงเงินได้ขั้นที่ 3 = 81,000 x 10% = 8,100 บาท

    โดยจะเห็นได้ว่ารายได้สุทธิของนาย ก จะถูกใช้ในแต่ละขั้นบันไดจนครบ 381,000 บาท

    เพราะฉะนั้นภาษีที่นาย ก จะต้องเสียจะเท่ากับ = 7,500 + 8,100 = 15,600 บาท 

    จะเห็นได้ว่าหากเรามีเงินได้สุทธิมากแค่ไหน ก็ต้องเสียภาษีมากขึ้นเท่านั้น เพราะการคำนวณภาษีแบบอัตราขั้นบันไดนั้น ยิ่งเงินได้คุณยิ่งมากเท่าไหร่ คุณก็ต้องยิ่งเสียภาษีมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นการวางแผนที่จะจ่ายภาษีในแต่ละปีๆ เป็นเรื่องที่สำคัญ และที่ขาดไม่ได้คือ การหาสิ่งที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน LTF และ RTF เป็นต้น เพราะถ้าหากเรายิ่งมีสิ่งที่นำมาลดหย่อนภาษีเราเยอะ เราก็อาจจะมีโอกาสที่ได้รับเงินคืนภาษีเยอะมากขึ้นเช่นกัน 

    ข้อดีของการคำนวณภาษีด้วยตนเอง 

    1.ทำให้สามารถวางแผนได้ง่าย โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันครบกำหนดที่จะยื่นภาษีแล้วค่อยทำ และการวางแผนไว้ก่อนนั้นมันก็เป็นข้อดีกับเราตรงที่เราสามารถนำเงินไปลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็น LTF หรือ RMF เพื่อให้ได้สิทธิในการลดหย่อนมากๆ 

    2.เราสามารถตรวจสอบได้ เพราะ เราเป็นคนคำนวณเองและยื่นภาษีเอง ดังนั้นหากกรมสรรพกรมีข้อสงสัย เราจะสามารถตอบคำถามเขาได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าลดหย่อนต่างๆ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ

    3. เข้าใจระบบในการคิดภาษีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการคิดคำนวณเองจะทำให้เรารู้กลไกลต่างๆในการคิด ไม่ว่าจะเป็นอัตราภาษี รวมถึงค่าลดหย่อนต่างๆ พอเราเข้าใจแล้ว เราก็จะไม่ค่อยเกิดข้อผิดพลาดในครั้งต่อๆไปเช่นกัน 

    ข้อเสียของการคำนวณภาษีด้วยตนเอง 

    1.หากผู้ที่ยังไม่เคยลองคำนวณด้วยตัวเองอาจจะเกิดความสับสนได้ว่าคำนวณอย่างไร และอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้

    2.อาจจะคำนวณผิดพลาดและแจ้งยอดที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้เวลาขอคืนภาษีอาจจะไม่น้อยกว่าความเป็นจริง 

    ซึ่งผู้เขียนก็หวังว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อทุกๆคนที่ต้องการยื่นภาษีไม่มากก็น้อย ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการวางแผน ถ้าเราวางแผนได้ดีก็จะทำให้กระบวนการทุกอย่างรวดเร็วและไม่ซับซ้อน และสามารถนำไปต่อยอดในการเสียภาษีได้อีกในอนาคตได้อีกด้วย รวมถึงยังมีความรู้เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นด้านการลดหย่อน ซึ่งก็จะเกิดผลดีกับตัวเองอีกด้วย ดังนั้นผู้เขียนก็ขอจบการเขียนบทความนี้ไว้เพียงเท่านี้ และหวังว่าผู้อ่านที่กำลังจะยื่นภาษีจะเข้าใจการคิดคำนวณด้วยตัวเองมากยิ่งขึ้น

    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply