Margin Level คืออะไร? ทำความรู้จักระดับมาร์จิ้น
นักลงทุน หรือเทรดเดอร์หลายคนน่าจะเคยผ่านหู ผ่านตากันมาบ้างกับคำว่า Margin Level ขณะที่บางคนอาจจะไม่เข้าใจมากนักว่า คำนี้หมายถึงอะไร และ เกี่ยวข้อง หรือมีความสำคัญอย่างไรต่อการเทรด บทความชิ้นนี้ จะพานักลงทุนมาทำความรู้จักกับคำว่า Margin Level เรียนรู้ความหมายของมัน วิธีการคำนวณ Margin Level และความสำคัญของ Margin Level ต่อการเทรด Forex
1. Margin Level คืออะไร?
Margin Level หรือ ระดับมาร์จิ้น คือ ค่าเปอร์เซ็นต์ (%) ที่อิงตามจำนวนของ Equity เทียบกับมาร์จิ้นที่ใช้แล้วโดย ระดับมาร์จิ้น (Margin Level) จะช่วยให้นักลงทุน หรือเทรดเดอร์ทราบว่ามีเงินเพียงพอสำหรับการซื้อ-ขายใหม่เท่าไหร่ ยิ่งระดับ Margin (Margin Level) ของคุณสูงเท่าไหร่ คุณก็จะมี Free Margin ให้เทรดมากขึ้นเท่านั้น
ในขณะเดียวกัน ยิ่งระดับ Margin ของคุณต่ำมากเท่าไหร่ Free Margin ของคุณก็จะยิ่งมีให้เทรดน้อยลงไปเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเทรดเดอร์ได้ เช่น การโดน Margin Call หรือ Stop Out
อธิบายให้เข้าใจง่ายมากขึ้น คือ ระดับมาร์จิ้น หรือ Margin Level จะบ่งบอกว่าบัญชี Forex ของคุณดีแค่ไหน Margin Level คือ อัตราส่วนของ Equity ของคุณ ต่อมาร์จิ้นที่ใช้แล้ว (Used Margin) ของสถานะที่เปิดอยู่ โดยระบุเป็นเปอร์เซ็นต์
ตามสูตร Margin Level จะมีลักษณะดังนี้ คือ (เงินทุน/มาร์จิ้นที่ใช้แล้ว) X 100 ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น สมมติว่า นางสาวสดใส มีเงินทุนอยู่ที่ 5,000 บาท และใช้หลักประกันไปแล้ว 1,000 บาท ระดับมาร์จิ้น (Margin Level) ของเขาในกรณีนี้คือ (5,000/1,000) X 100 = 500% ซึ่งค่ามาร์จิ้นในระดับนี้ ถือเป็นบัญชีที่ดีมาก ซึ่งการจะดูว่าบัญชีของคุณมีความแข็งแรงหรือไม่ คือ การดูว่าระดับมาร์จิ้นของคุณอยู่สูงกว่า 100% เสมอ
2. วิธีคำนวณ Margin Level
การคำนวณ Margin Level สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
Margin Level = (Equity / Used Margin) x 100%
ระดับมาร์จิ้น = (เงินในบัญชีที่บวกลบกำไร หรือขาดทุนแล้ว หารกับ มาร์จิ้นที่ใช้ไป) คูณ ด้วย 100 เปอร์เซ็นต์
ปกติแล้ว แพลตฟอร์มการเทรดของเทรดเดอร์จะคำนวณระดับมาร์จิ้น (Margin Level) ให้โดยอัตโนมัติ และจะแสดงผลระดับมาร์จิ้นของคุณให้บนแพลตฟอร์มที่คุณใช้ ในกรณีที่คุณไม่มีเทรดใดๆ เลย ค่า Margin Level ของคุณจะเป็น 0
ระดับมาร์จิ้น (Margin Level) นับว่ามีความสำคัญมาก โดยโบรกเกอร์ Forex จะใช้ระดับมาร์จิ้น เพื่อกำหนดว่าคุณสามารถเปิดตำแหน่ง (Position ซื้อ-ขาย) เพิ่มเติมได้หรือไม่ โบรกเกอร์แต่ละเจ้า จะ กำหนดขีดจำกัดระดับมาร์จิ้นที่แตกต่างกัน แต่โบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะกำหนดลิมิตของระดับมาร์จิ้น (Margin Level) ไว้ที่ 100%
นั่นหมายความว่าเมื่อ Equity (เงินที่อยู่ในบัญชีบวกลบกำไร หรือขาดทุนแล้ว) ของคุณเท่ากับ หรือน้อยกว่า Margin ที่ใช้แล้ว (Used Margin) คุณจะไม่สามารถเปิดสถานะ (Position) ใหม่ได้ ในกรณีที่คุณต้องการเปิดสถานะ (Position) ใหม่ คุณจะต้องปิดสถานะการซื้อ-ขาย ที่มีอยู่ก่อน
2.1 Equity คืออะไร?
Equity คือ เงินที่อยู่ในบัญชี ซึ่งบวกลบกับกำไร หรือขาดทุนไปแล้ว ซึ่งจะได้จากการคำนวณดังนี้
Equity = Balance + ออเดอร์ที่ทำกำไร - ออเดอร์ที่ขาดทุน
คำว่า Equity ในตลาด Forex หมายถึง เงินที่อยู่ในบัญชี ซึ่งบวกลบกับกำไร หรือขาดทุนไปแล้วหรือเงินที่เทรดเดอร์มีอยู่ในบัญชีแบบเรียล ไทม์ กล่าวคือ หากเวลานั้น บัญชีของคุณมีออเดอร์ติดลบ หรือขาดทุนอยู่ ถึงแม้ว่าออเดอร์ซื้อ-ขายนั้นจะยังไม่ถูกปิด Equity ของคุณก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับผลกำไร และขาดทุนของคุณในเวลาจริงด้วย
ตัวอย่างการใช้งาน Equity
ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณมีเงินอยู่ในบัญชี 3000 บาท และจากนั้นเปิดออร์เดอร์ซื้อ-ขาย โดยใช้เงิน 500 บาท และได้กำไร 50 บาท ขณะนี้ค่า Equity ที่แสดงจะมีค่า 3050 บาท เป็นต้น จนกระทั่งเราปิดออร์เดอร์ ค่า Equity ก็จะกลับมาเป็น 0 เหมือนเดิม วิธีการเพิ่ม Equity หรือทำให้ Equity สูงขึ้น คือ การเทรดให้ได้กำไรจากตลาด โดยหากคุณทำกำไรได้มาก เทรดเดอร์ก็จะสามารถนำกำไรที่ได้ไปซื้อ-ขายต่อ
2.2 Used Margin คืออะไร?
ก่อนที่จะไปทำความรู้จักคำว่า Used Margin เราลองมาดูกันก่อนว่า คำว่า Margin หมายถึงอะไร คำว่า Margin หมายถึง เงินทุน หรือ จำนวนเงินที่เทรดเดอร์จำเป็นต้องวางเป็นหลักประกันให้กับโบรกเกอร์ เพื่อที่จะสามารถทำการซื้อ-ขายและรักษาสถานะการซื้อ-ขายนั้นไว้ได้ มาร์จิ้นไม่ใช่ต้นทุนการทำธุรกรรม แต่เป็นเงินประกันที่นายหน้าจะถือไว้ในขณะที่เทรดเดอร์ยังเปิดทำการการซื้อ-ขายสกุลเงินอยู่
ขณะที่ Used Margin หรือมาร์จิ้นที่ใช้แล้ว คือ เงินทั้งหมดที่ถูกโบรกเกอร์ล็อคไว้ และไม่สามารถใช้เพื่อเปิดตำแหน่งใหม่ได้ เนื่องจากมันคือเงิน ที่ถูกใช้งานไปแล้วนั่นเอง Used Margin จึงหมายถึง จำนวนเงินที่คุณต้องฝากเพื่อให้สถานะการซื้อ-ขายทั้งหมดของคุณยังเปิดอยู่
2.3 Free Margin คืออะไร?
มาร์จิ้น หรือเงินประกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบ ใช้แล้ว และแบบฟรี ก่อนหน้านี้ เราทำความรู้กับคำว่า Used Margin ไปแล้วว่าคืออะไร นั่นก็คือ เงินที่เราวางเป็นหลักประกันไปกับการเปิดสถานะซื้อ-ขาย สกุลเงินกับโบรกเกอร์ ซึ่งมันจะถูกล้อคไว้กับโบรกเกอร์ หากสถานะยังเปิดอยู่
Free Margin หรือเงินประกันที่ยังไม่ได้ใช้ หมายถึง จำนวนเงินประกันที่เหลืออยู่ในบัญชีของเทรดเดอร์ ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำเงิน Free Margin ส่วนนี้ไปเปิดทำการซื้อ-ขายใหม่ๆ ได้ เงินประกันที่ยังไม่ได้ใช้ บางครั้งจะถูกเรียกว่า เงินประกันที่ยังใช้ได้ (Usable Margin) เนื่องจากมันเป็นเงินประกันที่คุณสามารถนำไปเปิดสถานะในการเทรดใหม่ๆ ได้
3. Margin Call และ Stop Out คืออะไร?
3.1 Margin Call
Margin Call คือ การที่โบรกเกอร์ของคุณ แจ้งให้คุณทราบว่าระดับ Margin ของคุณต่ำกว่าระดับขั้นต่ำที่กำหนด (Margin Call Level) ในอดีต การแจ้งเตือน อาจเป็นการโทรศัพท์หาเทรดเดอร์เพื่อแจ้งเตือน แต่ปัจจุบัน มักส่ง Margin Call เป็นอีเมลล์ หรือข้อความ
สถานการณ์นี้ จะเกิดขึ้นเมื่อระดับเงินมาร์จิ้น หรือเงินประกันของคุณต่ำลงจนถึงระดับ โดยทั่วไปมาร์จิ้นในบัญชีของเทรดเดอร์จะเป็นเงินทุนของคุณเอง และเงินที่อาจจะยืมมาจากโบรกเกอร์ การโดน Margin Call คือการเตือนให้เทรดเดอร์เพิ่มเงินเข้าไปในบัญชีเพื่อให้ถึงขั้นต่ำ
3.2 Stop Out Level
Stop Out Level คือ เมื่อระดับมาร์จิ้น หรือเงินประกันของคุณตกลงไประดับเปอร์เซ็นต์ที่คุณได้ตั้งค่าไว้ให้เป็นจุดปิดการซื้อ-ขายของ Position นั้น โดยอัตโนมัติ อาจจะเป็น Position เดียว หรือหลาย Position ที่คุณกำลังเปิดอยู่ โดยโบรกเกอร์จะล้างบัญชีทั้งหมดของคุณ
การล้างบัญชี หรือล้างพอร์ต เกิดขึ้นเพราะบัญชีของเทรดเดอร์ ไม่เหลือเงินมากพอที่จะเทรด หรือเปิดสถานะซื้อ-ขายใหม่ๆ ได้อีกต่อไป เพราะขาดเงินประกัน หรือ Margin นั่นเอง โดยเริ่มจากสถานะซื้อ-ขายที่ไม่ทำกำไรมากที่สุด จนกว่าระดับมาร์จิ้นของคุณจะกลับมาอยู่เหนือระดับ Stop Out
หากระดับ Margin ของคุณอยู่เท่ากับ หรือต่ำกว่าระดับ Stop Out โบรกเกอร์จะรีบปิดตำแหน่งที่เปิดอยู่ทั้งหมดของคุณโดยเร็วที่สุดโดยอัตโนมัติ โดยเริ่มจากสถานะซื้อ-ขายที่ไม่ทำกำไรมากที่สุด จนกว่าระดับมาร์จิ้นของคุณจะกลับมาอยู่เหนือระดับ Stop Out ทั้งนี้ ก็เพื่อปกป้องตัวเทรดเดอร์จากการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติม การปิดสถานะซื้อ-ขาย หรือ Position ของเทรดเดอร์ จึงถูกเรียกว่า Stop Out
ทั้งนี้ นักลงทุนควรจำไว้ว่า การโดน Stop Out โดยโบรกเกอร์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของโบรกเกอร์แต่อย่างใด หากแต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และไม่สามารถหยุดได้
Comments
D. jhon shikon milon
Is this article helpful to you?
LikeReply