Trailing Stop คือ อะไร? รู้จัก Trailing Stop


    สำหรับนักลงทุน หรือเทรดเดอร์ที่คร่ำหวอดในวงการ Forex คงคุ้นเคยกันดีกับฟังก์ชั่น Trailing Stop ซึ่งจะมีมาให้ในโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์สำหรับการเทรด Forex แต่สำหรับมือใหม่หัดเทรด อาจจะยังงงๆ หรือสับสนว่าจะใช้ Trailing Stop ยังไง บทความวันนี้ จะพานักลงทุนทั้งมืออาชีพ และน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการมาดูกันว่า Trailing Stop คือฟังก์ชั่นอะไร ทำหน้าที่อย่างไร และมีข้อดี หรือข้อเสียอย่างไรบ้าง


    1.Trailing Stop คือ อะไร? รู้จัก Trailing Stop


    Trailing Stop คือฟังก์ชั่นจำกัดการขาดทุนแบบเคลื่อนที่ตามราคา ทั้งนี้ ก่อนจะไปทำความเข้าใจ Trailing Stop นักลงทุนอาจต้องทำความรู้จักกับฟังก์ขั่น Stop Loss ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพ


    คำสั่ง Stop Loss เป็นคำสั่งที่เทรดเดอร์ไว้ใช้เพื่อลดการสูญเสีย โดยเทรดเดอร์จะต้องตั้งค่าจุดที่เราสามารถสูญเสียได้ ในกรณีที่ราคาหลักทรัพย์เคลื่อนไปในทิศทางที่อาจจะทำให้เราขาดทุน โดยหลักการก็คือ หากราคาหลักทรัพย์ถึงระดับ Stop Loss สถานะ หรือ Position ของเราจะถูกปิดโดยอัตโนมัติ โดยคำสั่ง Stop Loss นี้สามารถใช้กับสถานะที่เปิดอยู่ในปัจจุบัน หรือสถานะที่เป็น Pending Order ก็ได้

    ดังนั้น Trailing Stop ก็คือการตั้งค่า Stop Loss ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ตามความผันผวนของราคา ยกตัวอย่างเช่น หากราคาสกุลเงินสูงขึ้น ระบบก็จะปรับจุด Trailing Stop ที่เราตั้งไว้ให้สูงตามราคาไปด้วย แต่หากราคา หยุดปรับสูงขึ้น จุด Trailing Stop ก็จะยังคงค้างอยู่ในตำแหน่งเดิมจากที่มันโดนราคาลากขึ้นมา

    การตั้งค่า Trailing Stop จะช่วยให้เทรดเดอร์ยังสามารถทำกำไรได้ต่อเนื่อง เมื่อราคาตลาดปรับตัวสูงขึ้น หรือไปในทิศทางที่นักลงทุนต้องการ โดยฟังก์ชั่น Trailing Stop จะปิดการซื้อ-ขาย เมื่อราคาตลาดไปในทิศทางตรงกันข้าม จนถึงจุดที่มีการกำหนด หรือตั้งค่าหยุดการขาดทุน/สููญเสียเอาไว้โดยเทรดเดอร์



    พูดให้เข้าใจง่ายๆ Trailing Stop ก็คือ เป็นวิธีป้องกันตัวเองจากการขาดทุนโดยอัตโนมัติของนักลงทุน ในขณะที่ยังสามารถรักษาโอกาสในการทำกำไรไว้ได้ ซึ่งหน้าที่การทำงานหลักๆ ของ Trailing Stop คือ มันจะคอยเคลื่อนตามราคาตลาด ในทิศทางที่นักลงทุนต้องการไปเรื่อยๆ ตามการตั้งค่าที่เทรดเดอร์กำหนดไว้

    ยกตัวอย่าง เช่น หากนักลงทุนตั้งค่า Trailing Stop ไว้ที่ 50 pip ของคู่เงิน EUR/USD หลังจากซื้อคู่เงินนี้ที่ราคา 1.2550 นั่นหมายความว่า หากราคาขึ้นสูงไปถึง 1.2600 จุด Trailing Stop ของคุณก็จะปรับจากจุดเดิมที่ 1.2500 ไปเป็น 1.2550 กล่าวคือ เพิ่มขึ้นจากเดิม 50 จุด ตามที่เทรดเดอร์กำหนดไว้

    ทั้งนี้ จุด Stop ของคุณจะคงอยู่ที่ 1.2550 แต่หากราคาขยับไปอีก 50 จุด ในทิศทางที่คุณต้องการ นั่นหมายความ การซื้อ-ขายของคุณ ก็จะยังเปิดอยู่เช่นนั้น ตราบใดที่ราคาไม่ไปในทิศทางตรงกันข้ามถึง 50 จุด เทรดเดอร์มักจะใช้ Trailing Stop ในการล็อคผลกำไรเอาไว้ ในขณะเดียวกันก็จำกัดความเสี่ยงในการขาดทุนไปด้วย

    2. ข้อดี-ข้อเสียของ Trailing Stop


    ข้อดี


    • ฟังก์ชั่นTrailing Stop เหมาะกับเทรดเดอร์ที่อาจจะไม่มีวินัยมากพอที่จะคอยมาเฝ้าดู และหาจังหวะการทำกำไร หรือป้องกันการขาดทุน

    • การตั้งค่า Trailing Stop ช่วยตัดปัจจัยด้านอารมณ์ออกไปจากการซื้อ-ขายของนักลงทุน เพราะการตั้งค่า จะช่วยเทรดให้คุณโดยอัตโนมัติ โดยที่นักลงทุนไม่ต้องโดนราคาตลาดที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา มาส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อ-ขายในตลาด Forex

    • ฟังก์ชั่น Trailing Stop เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนประหยัดเวลาที่จะต้องคอยมาเฝ้าดูการซื้อ-ขายในตลาด เนื่องจากระบบจะทำงานโดยอัตโนมัติ โดยการปรับระยะของ Trailing Stop ไปตามทิศทางที่เทรดเดอร์ต้องการ และสกัดการสูญเสียตามระยะ เมื่อราคาตลาดเปลี่ยนทิศทาง

    ข้อเสีย

    • นักลงทุนควรมีความระมัดระวังในการวางจุด Trailing stop โดยเฉพาะในกรณีที่คุณกำลังลงทุนในคู่เงินที่มีความผันผวนสูง เนื่องจาก จุด Trailing stop อาจถูกกระตุ้นได้บ่อยครั้ง

    • การซื้อ-ขายที่มากเกินไป อาจกลายเป็นการปั่น ซึ่งทำให้นักลงทุนสูญเสียเงินไปกับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม จนทำให้เงินส่วนนี้ไปกินผลกำไรของนักลงทุน

    • ข้อเสียอีกข้อหนึ่งการตั้ง Trailing Stop คือ นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะถูกผลักออกจากตลาด เนื่องจากความผันผวนของราคา ที่มีการขึ้น-ลงอยู่ตลอดเวลา ทำให่เกิดความเสี่ยงที่สถานะการซื้อ-ขายของนักลงทุน จะถูกปิดจากระบบโดยอัตโนมัติ ตามการขึ้น-ลง ตามธรรมชาติของราคา เพราะฉะนั้น นักลงทุนควรพิจารณาระยะห่างจาก Trailing stop จากระดับราคาในตลาดอย่างระมัดระวัง เพราะหากเทรดเดอร์ตั้งจุด Trailing stop ไว้ใกล้เกินไป จะทำให้ตลาดไม่มีพื้นที่ในการหาย และความผันผวนของราคา จะทำให้จุด Stop ทำงานก่อนที่ควร

    3.วิธีตั้งค่า Trailing Stop


    ในกรณีที่ใช้ MetaTrader 4 หรือ 5 ฟังก์ชั่น Stop Loss คือ ฟังก์ชั่นที่ออกแบบมาเพื่อลดความสูญเสีย หรือการขาดทุน ในกรณีที่ราคาเคลื่อนไปในทิศทางที่เราไม่ต้องการ แต่ในกรณีที่ตำแหน่งของราคา อยู่ในจุดที่เป็นกำไร ฟังก์ชั่น Stop Loss อาจถูกปรับได้แบบแมนนวลเพื่อเปลี่ยนเป็นจุดคุ้มทุน แต่เพื่อให้ระบบนี้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ ฟังก์ชั่นการทำงาน Trailing Stop จึงถูกออกแบบมา โดยเครื่องมือนี้ จะมีประโยชน์ในกรณีที่ราคาเคลื่อนไปอย่างแข็งแรงไปตามทิศทางเดิม หรือในเวลาที่นักลงทุน ไม่สามารถเฝ้าดูตลาดด้วยเหตุผลบางอย่าง



    ฟังก์ชั่น Trailing Stop จะสามารถเข้าถึงได้ จากการคลิกขวาที่ Open Position ของเทรดเดอร์ ในหน้าเทอร์มินัล (Terminal) จากนั้น ให้คุณเลือก Trailing Stop แล้วตามด้วยการเลือกระยะของ Trailing Stop ที่เทรดเดอร์ต้องการ ซึ่งจะเป็นระยะระหว่างจุด Stop Loss และราคาในปัจจุบัน ของ Open Position ที่คุณทำรายการ โดยคุณสามารถเลือกระยะของ Trailing Stop ได้แค่แบบเดียว ต่อหนึ่งรายการซื้อ-ขาย หรือ Open Position

    หลังจากที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นไปแล้ว หากมีการเสนอราคาใหม่เข้ามา เทอร์มินัลจะตรวจสอบว่า Open Position นั้นทำกำไรได้หรือไม่ ทันทีที่กำไรมีค่าเท่ากับ หรือสูงกว่าระดับที่ตั้งค่าไว้ จะมีคำสั่งให้คุณกำหนดค่า Stop Loss แจ้งขึ้นมาอัตโนมัติ โดยที่ระดับการสั่งซื้อ จะถูกตั้งไว้ที่ระยะที่กำหนดจากราคาปัจจุบัน

    นอกจากนี้ หากราคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ทำกำไรได้มากกว่า จุด Trailing Stop จะทำให้ระดับ Stop Loss เคลื่อนตามราคาไปด้วยโดยอัตโนมัติ แต่หากกำไรจากสถานะนั้นๆ ลดลง คำสั่งซื้อ-ขายจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป ซึ่งจะทำให้กำไรของสถานถูกหยุดให้คงที่โดยอัตโนมัติ เพื่อรักษากำไรให้กับเทรดเดอร์ โดยการปรับ Stop Loss ของ Trailing Stop โดยอัตโนมัติในแต่ละครั้ง จะมีการบันทึกไว้ในส่วนของ Terminal journal

    Trailing Stop สามารถถูกยกเลิกได้ ด้วยคลิกเลือกที่ “None” บนแถบคำสั่ง Trailing Stop นอกจากนี้ Trailing Stop ของทุกๆ สถานะ (Open Position) หรือ สถานะที่รอดำเนินการ (Pending Order) สามารถยกเลิกได้โดยการคลิกเลือกคำสั่ง “Delete All” บนเมนูคำสั่งเดียวกัน


    4. ข้อควรระวังเมื่อใช้ Trailing Stop


    การลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจะไม่มีวิธีไหนเป็นสูตรสำเร็จในการเทรดให้ประสบความสำเร็จ หรือแก้ปัญหาต่างๆ ได้เพอร์เฟ็ค สิ่งที่นักลงทุน ควรจำไว้ คือ การใช้ฟังก์ชั่น Trailing Stop อาจจะเหมาะกับการติดตามการเคลื่อนไหวใหญ่ๆ ของราคา เมื่อมันเกิดขึ้น แต่หากว่าราคาตลาด ไม่ได้เคลื่อนมากนัก การตั้งค่า Trailing Stop ของเทรดเดอร์ อาจไปหยุดยั้งการทำงานของสถานะ ทำให้เกิดความสูญเสียทีละเล็กทีละน้อย จนกินเงินต้นทุนของคุณ

    หากพบปัญหาข้างต้น สิ่งที่เทรดเดอร์ควรทำก็คือ ควรหยุดเทรดสักพัก หรืออาจตั้งค่า Stop Loss แบบจุดเดียว โดยอ้างอิงจากราคาปัจจุบัน เพื่อให้ระบบจัดการเอง เมื่อราคามาถึงจุดสูญเสียที่ตั้งค่าไว้ โดยที่เราไม่ต้องคอยพะวงอีก

    เทรดเดอร์ อาจทดลองใช้ฟังก์ชั่น Trailing Stop กับบัญชีทดลอง (Demo account) เพื่อทำความคุ้นเคย และเข้าใจฟังก์ชั่นนี้ให้มากขึ้น ก่อนทดลองเทรดกับฟังก์ชั่นนี้บนบัญชีจริง เพื่อช่วยลดความสูญเสีย


    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply