เปิดพอร์ตกับโบรกเกอร์อย่างชาญฉลาดเมื่อเข้าใจเรื่องค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น

    ในการเทรดหุ้นนอกจากจะต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และการตัดสินใจที่ดีแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้เล่นหุ้นต้องนำไปพิจารณาคือค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น เพราะโบรกเกอร์แต่ละเจ้ามีค่าธรรมเนียมและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป วันนี้เราจะมาช่วยคุณศึกษาค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นของโบรกเกอร์แต่ละเจ้า พร้อมแนะวิธีการตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะกับเราอีกด้วย

    1.ประเภทค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น

    ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์

    ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่เราต้องจ่ายให้กับโบรกเกอร์ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อกำหนดของบริษัท หากเป็นบัญชีที่ผู้ลงทุนต้องใส่คำสั่งซื้อด้วยตนเองจะมีค่าธรรมเนียมถูกกว่า นอกจากนี้ยิ่งมูลค่าการซื้อขายมากค่าธรรมเนียมก็จะยิ่งถูก เริ่มต้นที่ 0.075% จนถึงประมาณ 0.15% หรือประมาณ 0.75 ถึง 15 สตางค์สำหรับการซื้อขายหุ้นทุก ๆ 100 บาท หากเป็นบัญชีที่เจ้าหน้าที่โบรกเกอร์ช่วยคีย์คำสั่งให้ก็มีจะค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ประมาณ 0.25% หรือประมาณ 25 สตางค์ต่อการเทรดหุ้นทุก ๆ 100 บาท

    อย่างไรก็ตามโบรกเกอร์บางเจ้าอาจมีค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นขั้นต่ำ เช่น ปกติมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 0.15% แต่มีขั้นต่ำที่ 20 บาท ดังนั้น หากเราซื้อหุ้นทั้งหมดในราคา 100 บาท ด้วยค่าธรรมเนียม 0.15% หรือ 15 สตางค์ แต่เราต้องในราคา 20 บาท เพราะเป็นขั้นต่ำ

    ค่าธรรมเนียมหลักทรัพย์

    เป็นค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่เราต้องเสียให้กับตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีค่าธรรมเนียมยิบย่อยต่าง ๆ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ (Trading Fee) ค่าธรรมเนียมชำระราคาและส่งมองหลักทรัพย์ (Clearing Feed) และค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (Regulatory Fee) ค่าธรรมเนียมเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วคิดเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายทั้งหมด 0.007% เท่ากับว่าเราต้องจ่ายเงิน 7 บาท ในการเทรดที่ราคาทุก ๆ 100,000 บาท

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%)

    เนื่องจากว่าเราต้องใช้บริการของโบรกเกอร์ในการซื้อขายหุ้น ดังนั้นทุก ๆ การซื้อขายบริการจำเป็นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ให้กับกรมสรรพากร แต่การคิดภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้คิดจากราคาและหุ้นที่ซื้อขาย แต่เป็นการคิดคำนวณเงิน 7% จากค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่เราจ่ายให้โบรกเกอร์ และค่าธรรมเนียมให้ตลาดหลักทรัพย์

    โดยรวม ๆ แล้ว หลังจากที่เราคิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นทั้ง 3 ประมาณในการซื้อขายหุ้นแล้ว จะตกอยู่ที่ประมาณ 0.2% หรือ 20 สตางค์ต่อทุก ๆ 100 บาท มากน้อยขึ้นอยู่กับเปอร์เซนต์ค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ นอกจากนี้อาจมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ สมมติว่าเราเลือกซื้อหุ้น A ในราคาหุ้นละ 100 บาท จำนวน 100 หุ้น คิดเป็นราคา 10,000 บาท แต่ค่าใช้จ่ายจริงไม่ใช่แค่ 10,000 บาท และเมื่อคุณขายหุ้นไปคุณก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับโบรกเกอร์อีกครั้งเช่นกัน


    2.วิธีการเลือกโบรกเกอร์ในการเปิดบัญชีหุ้นให้คุ้มค่า

    ความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์

    โบรกเกอร์ที่ดีจะต้องดำเนินการถูกต้องตามหลักกฎหมายและต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต้องเป็นบริษัทที่มีโครงสร้างถูกต้องตั้งแต่ผู้บริหาร นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ไปจนถึงผู้ติดต่อกับนักลงทุน โบรกเกอร์อาจมีทั้งบริษัทที่เป็นธนาคาร เช่น ไทยพาณิชย์ กสิกร และส่วนที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น ฟิลิปส์ ไอร่า เป็นต้น คุณสามารถตรวจสอบโบรกเกอร์ที่ได้รับอนุญาตได้ที่นี่

    ค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่น

    อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกโบรกเกอร์นั้นก็คือค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่นเราจะต้องตรวจสอบค่าธรรมเนียมของโบรกเกอร์แต่ละเจ้าและนำมาเปรียบเทียบกันว่าเราควรที่จะเลือกเปิดบัญชีเทรดหุ้นกับโบรกเกอร์เจ้าไหน

    หากค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นสูงนั่นหมายความว่าเราจะต้องเสียเงินเยอะขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโบรกเกอร์ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำจะดีกับเราเสมอไป เพราะยังขึ้นอยู่กับรายละเอียดเงื่อนไขการให้บริการอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ หรือวิธีการส่งคำสั่งซื้อ เป็นต้น จึงต้องพิจารณาโบรกเกอร์ให้เหมาะกับสไตล์การเทรดหุ้นของเรา หากเรายังเป็นมือใหม่และยังมีงบและปริมาณการซื้อขายไม่สูงมากก็ควรเลือกโบรกเกอร์ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำเอาไว้ก่อน

    บริการเสริมหรือตัวช่วยในการเทรด

    นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแล้ว การให้บริการเสริมก็ของโบรกเกอร์ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราควรพิจารณา โดยเฉพาะหากเราเป็นมือใหม่แล้วการมีตัวช่วยอำนวยความสะดวกในช่วงเริ่มต้นของการเทรดก็จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น คุณอาจเลือกโบรกเกอร์ที่คอยส่งรายงานผลการดำเนินการ ข่าวสารและข้อมูลวิเคราะห์หุ้นอยู่เป็นประจำ หรือแม้แต่ในเรื่องความยากง่ายในขั้นตอนการดำเนินการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นและถอนเงิน เพราะคุณควรจะใช้เวลาที่มีอยู่มานั่งพิจารณาวิเคราะห์การเทรดหุ้น ดังนั้นคุณไม่ควรต้องมานั่งเสียเวลาไปกับขั้นตอนการดำเนินการที่ยุ่งยาก


    3.เปรีบเทียบวิธีพิจารณาค่าธรรมเนียมของโบรกเกอร์

    จากที่ได้กล่าวไปนั้น ค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่ายให้ตลาดหลักทรัพย์และภาษี VAT จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่า ๆ กันในทุก ๆ การซื้อขาย สิ่งที่ทำให้จำนวนเงินของค่าธรรมเนียมแตกต่างกันไปนั้นคือ ค่าธรรมเนียมของโบรกเกอร์ เราจะมาอธิบายวิธีพิจารณาค่าธรรมเนียซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ที่คุ้มค่ากับการลงทุนของคุณมากที่สุด หากพิจารณาในส่วนของค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น เราจะสามารถแบ่งโบรกเกอร์ออกมาได้ 2 ประเภท 1) โบรกเกอร์ที่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ เช่น  50  บาท และ 2) โบรกเกอร์ที่คิดค่าธรรมเนียมตามจริง

    ประเภทที่ 1 แบบมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ

    สมมุติว่าเรามีการซื้อขายหุ้นแล้วค่าธรรมเนียมที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์มียอดรวมไม่ถึง 50 บาท ในวันนั้น ๆ ทางโบรกเกอร์ก็จะคิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นเป็น 50 บาทโดยอัตโนมัติ จากนั้นทางโบรกเกอร์ก็จะนำเงิน 50 บาทนี้ไปหารเฉลี่ยกับจำนวนหุ้นของเราทุกตัวในพอร์ตก็จะทำให้ต้นทุนหุ้นของเราสูงขึ้น หากเรามีจำนวนเงินที่ไม่เพียงพอเมื่อหมดวัน จะทำให้อำนาจในการซื้อหุ้นจริง (Line Available) ของราติดลบหรือค้างจ่ายนั่นเอง แต่หากภายในวันเดียวกันเราได้ทำการซื้อขายและมีค่าธรรมเนียมกิน 50 บาทขึ้นไป ทางโบรกเกอร์ก็จะคิดค่าธรรมเนียมตามเปอร์เซ็นต์ที่เกิดขึ้นจริง

    ประเภทที่ 2 แบบที่คิดค่าธรรมเนียมตามจริง

    คือโบรกเกอร์ที่ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 50 บาท สมมุติว่าค่าธรรมเนียมซื้อขายจริงในแต่ละครั้งนะคะอยู่ที่ 0.25% เมื่อเวลาเราซื้อขายหุ้นในแต่ละครั้งนั้นเราก็จะเสียค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นอยู่ที่ 0.25% ของจำนวนเงิน หากยอดรวมของทั้งวันยังไม่ถึง 50 บาท ก็จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 50 บาทแต่อย่างใด


    เมื่อเข้าใจความแตกต่างแล้วเราก็ลองมาพิจารณาว่าเราควรเลือกโบรกเกอร์แบบใดกันดีกว่า

    สำหรับมือใหม่ เงินทุนน้อย หรือลงทุนระยะยาว

    ใครที่เป็นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาลงทุนและมีต้นทุนไม่มาก เช่น ไม่เกินหลักหมื่น เราขอแนะนำให้เปิดพอร์ตกับโบรกเกอร์ที่คิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นตามจริง สมมุติว่าลงทุนกับหุ้นเดือนละ 2,000 บาท โดยที่เราจะซื้อหุ้นแค่เดือนละ 1 ครั้ง และมีค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์อยู่ที่ 0.25% ในทั้งปีเราก็จะเสียค่าธรรมเนียมให้กับทางโบรกเกอร์ 60 บาทเอง แต่ถ้าลงทุนกับโบรกเกอร์ที่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 50 บาท เราก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้ง 50 บาท คิดเป็นเงิน 600 บาทต่อปี

    สำหรับผู้มีประสบการณ์ เงินทุนหนา หรือลงทุนระยะสั้น

    การเลือกเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ที่มีค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นขั้นต่ำโดยทั่วไปจะมีอัตราการคิดค่าธรรมเนียในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าแบบแรก ประมาณ 0.15% หากคุณมีการซื้อขายเงินทุน 50,000 บาทต่อวัน จะคิดเป็นค่าธรรมเนียม 75 บาทต่อวัน แต่หากคุณเลือกโบรกเกอร์ที่ไม่มีขั้นต่ำและมีเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า เช่น 0.25% คุณก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 125 บาท หรือในกรณีที่คุณลงทุนหุ้นระยะสั้น (Day Trade) จำเป็นต้องมีการเปิดการซื้อและปิดการขายทุกวัน โดยยอดเปิดปิดครั้งละไม่ต่ำ 20,000 บาท คุณก็จ่าย 60 บาทโดยประมาณ สำหรับค่ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น 0.15%

    ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นเป็นสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้คุณได้กำไรหรือขาดทุนจากการเล่นหุ้นได้ เราหวังว่าความรู้เรื่องค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ตัดสินใจลงทุนได้นำไปพิจารณาเปิดพอร์ตการลงทุนหุ้นที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับตัวเอง


    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply