Price Pattern คืออะไร? รู้จักแพทเทิร์นราคา


    1. Price Pattern คืออะไร?

    Price pattern หรือ Chart pattern คือ รูปแบบราคาเฉพาะที่ปรากฏบนแผนภูมิ Price pattern เหล่านี้ จะคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต โดยมันอยู่บนฐานการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ที่มีสมมติฐานว่าประวัติศาสตร์ จะเกิดขึ้นซ้ำๆ Price pattern หลายรูปแบบที่ได้รับความนิยม ได้แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวของราคาบางแบบนั้น เป็นผลมาจากการก่อตัวของรูปแบบราคาบางรูปแบบ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง

    Price pattern สามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย 1.แพทเทิร์นแบบต่อเนื่อง (Continuation patterns) ซึ่งจะส่งสัญญาณราคาแบบต่อเนื่องของแนวโน้มนั้นๆ 2.แพทเทิร์นแบบกลับตัว (Reversal patterns) ซึ่งจะส่งสัญญาณการกลับทิศทาง หรือกลับตัวของแนวโน้มนั้นๆ สุดท้าย 3. แพทเทิร์นแบบ 2 ทิศทาง (Bilateral patterns) ซึ่งจะส่งสัญญาณที่อาจไปได้ทั้งสองทิศทาง

    Price pattern เป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วยเทรดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเครื่องมือหนึ่งสำหรับนักลงทุน มันเป็นเครื่องมือที่วิเคราะห์พฤติกรรมราคาล้วนๆ ซึ่งเกิดจากแรงกดดันในการซื้อ-ขาย แพทเทิร์นราคา หรือ Price pattern มีการติดตามประวัติที่ตรวจสอบแล้ว โดยเทรดเดอร์จะใช้มันในการมองหาแพทเทิร์นทั้งแบบต่อเนื่อง และแบบกลับตัว เพื่อเปิดสถานะซื้อ-ขาย และระบุราคาเป้าหมาย

    อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ ควรรู้ว่า แม้แพทเทิร์นเหล่านี้ จะช่วยให้คุณกำหนดทิศทางของแนวโน้มราคาได้ แต่นักลงทุนก็ไม่ควรพึ่งพา Price pattern เพียงอย่างเดียว แต่ควรนำเครื่องมืออื่นๆ มาใช้วิเคราะห์ร่วมได้

    2.ประเภทของ Price Pattern


    อย่างที่ได้เกริ่นไปในตอนต้น ว่าแพทเทิร์นราคา หรือ Price pattern คือ แพทเทิร์นราคา ซึ่งเทรดเดอร์ไว้ใช้้คาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1.แพทเทิร์นต่อเนื่อง แพทเทิร์นรูปแบบนี้ จะทำให้นักลงทุนใช้โอกาสในการซื้อ-ขาย ตามทิศทางราคาแบบต่อเนื่อง  2.แพทเทิร์นกลับตัว  และ 3. แพทเทิร์นแบบ 2 ทิศทาง บทความส่วนนี้ จะพาไปดูแพทเทิร์นทั้ง 3 รูปแบบแบบเจาะลึก ว่ามันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อนักลงทุนบ้าง


    https://www.investopedia.com/terms/p/pattern.asp


    2.1 แพทเทิร์นแบบต่อเนื่อง (Continuation patterns)




    แพทเทิร์นแบบต่อเนื่อง (Continuation patterns) คือ รูปแบบการก่อตัวของราคาที่ส่งสัญญาณว่าเทรนด์หรือแนวโน้มที่กำลังเป็นอยู่ จะยังคงมีทิศทางต่อเนื่องไป นักลงทุนบางคนเรียกแพทเทิร์นนี้ว่า แพทเทิร์นพักตัว เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการพักของนักลงทุนในตลาด ก่อนที่ราคาจะเคลื่อนไปตามทิศทางเดิม ก่อนหน้านี้

    แพทเทิร์นนี้ ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่ขึ้น-ลง เป็นเส้นตรง มันสามารถหยุด หรือย้ายไปด้านข้าง แล้วปรับฐานลง หรือขึ้น จากนั้นค่อยปรับโมเมนตัมเพื่อไปตามแนวโน้มทั้งหมดได้
    แพทเทิร์นแบบต่อเนื่อง มีอยู่หลายแพทเทิร์นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น แพทเทิร์นแบบ wedges, แพทเทิร์น rectangles แพทเทิร์น pennants เป็นต้น

    ตัวอย่างแพทเทิร์นแบบต่อเนื่อง


    Flag pattern - แพทเทิร์น Flag หรือแพทเทิร์นธง เป็นหนึ่งในแพทเทิร์นที่มีความรวดเร็ว มีลักษณะเหมือนช่องเล็กๆ ที่มีแนวโน้มชัน ซึ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยหลังจากแนวโน้มขาขึ้นแล้ว ก็จะเป็นเนินลาดลง ตามมาด้วยเนินสูงขึ้น ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างแพทเทิร์น แพทเทิร์น Flag จงเป็นแพทเทิร์นที่ประกอบไปด้วยการเคลื่อนของราคาที่แข็งแรง ซึ่งก่อตัวจนเกือบเป็นเส้นแนวตั้ง หรือที่เรียกว่าเสาธง

    วิธีการเทรด Continuation patterns


    การเทรดแพทเทิร์นเหล่านี้ เทรดเดอร์เพียงแค่วางออเดอร์ ไว้เหนือ หรือต่ำกว่าจุดก่อตัวของเทรด ซึ่งจะต้องเป็นไปตามทิศทางของแนวโน้มต่อเนื่อง จากนั้นให้เลือกเป้าหมายที่มีขนาดเท่ากับแพทเทิร์นแบบ แท่งเหล็ก (wedges pattern) และแพทเทิร์นแบบสี่เหลี่ยม (rectangle pattern) สำหรับแพทเทิร์นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (pennant pattern) เทรดเดอร์สามารถตั้งเป้าที่สูงกว่า และเล็งไปที่เป้าหมายสูงสุดของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

    สำหรับแพทเทิร์นแบบต่อเนื่อง การวางจุด Stop มักจะวางไว้เหนือ หรือต่ำกว่า จุดก่อตัวจริงๆ ของแพทเทิร์น ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณกำลังเทรดแพทเทิร์นสี่เหลี่ยมที่เป็นตลาดหมี (bearish rectangle) คุณควรวางจุด Stop ของคุณเหนือจุดสูงสุดของสี่เหลี่ยมสัก 2-3 จุด (pips)

    2.2  แพทเทิร์นแบบกลับตัว (Reversal patterns)


    แพทเทิร์นแบบกลับตัว (Reversal patterns) คือ รูปแบบกราฟที่ส่งสัญญาณว่าแนวโน้มต่อเนื่องกำลังจะเปลี่ยนทิศทาง หากแพทเทิร์นแบบกลับตัว เกิดขึ้นระหว่างแนวโน้มขาขึ้น แสดงว่าแนวโน้มจะกลับตัวและราคาจะดิ่งลงในไม่ช้า ในทางกลับกัน หากเห็นแพทเทิร์นกลับตัวในช่วงขาลง แสดงว่าราคาจะขยับขึ้นหลังจากนั้น

    แพทเทิร์นแบบกลับตัว มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นแพทเทิร์น Double Top, แพทเทิร์น Double Bottom, แพทเทิร์น Head and Shoulders, แพทเทิร์น Inverse Head and Shoulders, แพทเทิร์น Rising Wedge, แพทเทิร์น Falling Wedge เป็นต้น

    ตัวอย่างแพทเทิร์นแบบกลับตัว

    Double Bottom - แพทเทิร์นแบบ Double Bottom เป็นแพทเทิร์นที่ราคา มีจุดต่ำอยู่สองจุด และมีจุดที่ล้มเหลวระหว่างการพยายามครั้งที่สอง และยังคงสูงขึ้นไป แพทเทิร์นในลักษณะนี้ จะถูกสังเกตเห็นได้จากการลดลงอย่างชัดเจนของราคา ตามมาด้วยแรงกลับตัว หรือการตีกลับเล็กน้อย จากนั้น ก็เกิดการตกลงครั้งที่สองของราคา ในระดับที่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับการตกลงของราคาครั้งแรก ในระยะเวลาไม่นาน ทำให้แพทเทิร์นลักษณะจะมีรูปร่างคล้ายตัว “W”



    วิธีการเทรด Reversal patterns

    การจะเทรดโดยการใช้แพทเทิร์นเหล่านี้ คุณเพียงแค่วางคำสั่งซื้อ-ขาย ให้พ้นไปจากบริเวณที่เป็นคอเสื้อ และให้อยู่ในทิศทางเดียวกับแนวโน้ม หรือเทรนด์ใหม่ จากนั้น ให้คุณมองหาเป้าหมายที่แทบจะอยู่ในระดับความสูงเดียวกันกับความสูงของจุดก่อตัว

    ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณเห็นแพทเทิร์น Double bottom ให้คุณวางออเดอร์ซื้อ ไว้ที่จุดสูงสุดของฐานคอเสื้อ แล้วหาเป้าหมายที่สูงเท่ากับระยะของฐานถึงจุดคอเสื้อ ทั้งนี้ทั้งนั้น เทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง ด้วยการตั้งค่าจุด stop เอาไว้ด้วย ซึ่งจุดที่สมเหตุสมผลสำหรับการตั้ง Stop loss ควรอยู่บริเวณกึ่งกลางจุดก่อตัวของแพทเทิร์น

    ยกตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์อาจวัดระยะห่างของ Double bottom จากจุดคอเสื้อ แล้วหารสอง แล้วใช้ผลลัพธ์นั้นเป็นจุด Stop ของคุณ

    2.3 แพทเทิร์นแบบ 2 ทิศทาง (Bilateral patterns)


    แพทเทิร์นแบบ 2 ทิศทาง (Bilateral pattern) อาจจะดูสับสนสักหน่อย เพราะมันเป็นแพทเทิร์นที่บ่งบอกว่าราคา สามารถไปได้ทั้งสองทิศทาง ลักษณะแพทเทิร์นแบบนี้ ทำให้เกิดการก่อตัวในรูปแบบสามเหลี่ยม ซึ่งราคาสามารถทะลุไปด้านบน หรือด้านล่างของรูปสามเหลี่ยมก็ได้

    ตัวอย่างแพทเทิร์นแบบ 2 ทิศทาง

    Triangle pattern - แพทเทิร์นแบบสามเหลี่ยมนี้ เป็นแพทเทิร์นที่เกิดจากการลดลงของความผันผวนในตล่าด และตามมาด้วยการฝ่าวงล้อม โดยที่ฝั่งหนึ่งอยู่ในระนาบแนวนอน  และอีกด้านมาบรรจบกันเป็นมุมแหลม ทำให้เกิดเป็นแพทเทิร์นรูปสามเหลี่ยม

    แพทเทิร์นลักษณะนี้จะชวนเทรดเดอร์สับสน เพราะราคา จะสามารถไปได้ในทั้ง 2 ทิศทาง ขึ้น หรือลง ตามปกติ ทิศทางถัดไปของแรงกระตุ้นของราคา จะขึ้นอยู่กับเทรนด์ หรือแนวโน้มที่ก่อตัวมาก่อนหน้าการสร้างแพทเทิร์น โดยมีทั้งรูปแบบสามเหลี่ยมขึ้น สามเหลี่ยมลง และสามเหลี่ยมสมมาตร

    ภาพด้านบน คือ Ascending Triangle หากแพทเทิร์นนี้อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ราคาจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อสามเหลี่ยมเสร็จสิ้น ดังนั้น แพทเทิร์นลักษณะนี้ จึงแสดงถึงช่วงเวลาพัก ก่อนที่แนวโน้มขาขึ้นจะกลับมาอีกครั้ง

    ระดับแนวต้านด้านบน ถูกสร้างขึ้นจากจุดสูงสุดสองจุดขึ้นไปที่มีความสูงเท่ากัน ขณะที่เส้นแนวต้านที่ต่ำกว่าผ่านจุดต่ำสุดติดต่อกันอย่างน้อยสองครั้ง โดยที่แต่ละเส้นจะมีความสูงมากกว่าเส้นก่อนหน้า

    ระดับการฝ่าวงล้อมจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเติบโตของปริมาณการซื้อ-ขาย อย่างไรก็ตาม เมื่อพฤติกรรมนั้นสิ้นสุดลง เส้นแนวต้านจะกลายเป็นเส้นแนวรับ โดยราคาเป้าหมายโดยประมาณ จะเป็น ความกว้างของสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้นระหว่างการขึ้นของราคา

    วิธีการเทรด Bilateral patterns


    การเทรดแพทเทิร์นในลักษณะนี้ เทรดเดอร์ควรพิจารณาตลาดว่ามีความเป็นไปได้ทั้ง 2 สถานการณ์ คือ อาจจะเป็นการทะลุขึ้นบน หรือทะลุลงล่างก็ได้ สิ่งที่ควรทำ คือ การวางออเดอร์หนึ่งไว้จุดบนสุดของตัวแพทเทิร์น และวางอีกออเดอร์ไว้ที่จุดล่างสุดของแพทเทิร์น

    หากออเดอร์หนึ่งถูกกระตุ้นขึ้นมา คุณสามารถยกเลิกคำสั่งอีกตัวหนึ่งได้ ไม่ว่าจะสถานการณ์ในตลาดจะเป็นอย่างไร คุณก็จะยังอยู่ในเกมส์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น คือ นักลงทุนอาจจะเจอกับจุด false break หรือภาวะที่ราคาทะลุจุดแนวต้าน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่คุณวางออเดอร์ไว้ใกล้กับจุดสูงสุด หรือจุดล่างสุดของแพทเทิร์นมากเกินไป นักลงทุนจึงต้องวางจุด stop อย่างระมัดระวั


    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply