วิธีเล่น MetaTrader 4?ติดตั้ง & วิธีดาวน์โหลด MetaTrader 4




    1.MetaTrader 4 คือ อะไร?: รู้จัก MetaTrader 4


    MetaTrader 4 เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อ-ขายสกุลเงิน (Forex) และสินทรัพย์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น CFD, ดัชนี, สินค้าอุปโภคบริโภค, สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า, สกุลเงินดิจิตอล เป็นต้น โดย MetaTrader 4 ให้บริการผู้ค้ารายย่อย ผ่านทางโบรกเกอร์บางเจ้า ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้แพลตฟอร์มเป็นรายๆ แพลตฟอร์ม MetaTrader 4 ให้บริการผ่านโบรกเกอร์และธนาคารกว่า 750 แห่ง ซึ่งรองรับนักลงทุนจำนวนหลายล้านคน


    MetaTrader 4 เป็นซอฟต์แวร์ที่เหมาะสำหรับทั้งนักลงทุนหน้าใหม่ และนักลงทุนมืออาชีพ เนื่องจากมีระบบการใช้งาน และการออกแบบที่เรียบง่าย มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เรียกว่า Copy Trade และ Expert Advisors ที่ออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำ และช่วยเหลือนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นในตลาด Forex แพลตฟอร์มยังให้บริการข้อมูลสำหรับการศึกษาด้านการลงทุนให้กับมือใหม่ พร้อมทั้งการมีบัญชีทดลองใช้ (Demo Account) ให้กับคนที่ต้องการทดลองใช้งานก่อน


    ในขณะเดียวกัน MetaTrader 4 ก็ยังเป็นแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบสำหรับนักลงทุนมืออาชีพ ด้วยความสามารถในการแสดงกราฟข้อมูลที่ซับซ้อน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเทคนิค ตัวชี้วัด หรืออินดิเคเตอร์หลากหลายที่ติดตั้งมากับซอฟต์แวร์ เครื่องมือกราฟฟิก ระบบการเทรดอัตโนมัติ อินดิเคเตอร์ที่สามารถปรับแต่งได้ เป็นต้น


    MetaTrader 4 จากการสำรวจของเว็บไซต์ Dailyforex พบว่า MetaTrader 4 เป็นแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย Forex ที่รับความนิยมจากนักลงทุนมากที่สุดในโลก โดย 57% ของนักลงทุนที่ทำแบบสำรวจใช้ MetaTrader 4 ในการซื้อ-ขาย Forex




    2. ติดตั้ง MetaTrader 4: วิธีใช้ MetaTrader 4


    2.1 วิธีดาวน์โหลด MetaTrader 4

    MetaTrader 4 เป็นซอฟต์แวร์ฟรีที่ใช้งานได้ทั้งบน macOS, Linux, Windows 7, 8 และ 10 (32-bit และ 62-bit) นอกจากนี้ ยังสามารถใช้งานได้บนเว็บ บราวเซอร์บน MacBook หรือ Chromebook ก็ได้  สามารถดาวน์โหลดไฟล์ซอฟต์แวร์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ MetaTrader 4 โดยเลือก Download MetaTrader 4 for PC หรืออาจจะดาวน์โหลดผ่านแพลตฟอร์มของโบรกเกอร์ที่คุณมีบัญชีด้วยอีกทางหนึ่ง


    กรณีที่นักลงทุนต้องการใช้งาน MetaTrader 4 บนสมาร์ทโฟน ทั้งระบบ iOS และ Android นักลงทุนสามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชชั่น MetaTrader 4 ได้ที่เว็บไซต์ของ MetaTrader 4 หรือจะเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ App Store หรือ Google Play

    2.2 วิธีติดตั้ง MetaTrader 4

    หลังจากติดตั้งซอฟต์แวร์ลงคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนสำเร็จแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำ คือ การเปิดบัญชีใหม่ และลงชื่อเข้าใช้บัญชีของคุณ จากนั้น คุณสามารถตั้งค่าแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 ของคุณได้ด้วยตัวคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่ากราฟต่างๆ หรือการเลือกโหมดการแสดงผล ช่วงที่คุณสมัครบัญชีใหม่ จะมีการชี้แจงค่าคอมมิสชั่น ค่าทำธุรกรรม หรือค่า swap ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียม หรือค่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่คุณอาจได้รับ หรือต้องจ่ายให้โบรกเกอร์ในแต่ละวัน

    จากนั้น คุณสามารถไปตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ และระดับเงินประกัน (margin) ในบัญชี หากคุณมีเงินในบัญชีไม่พอต่อข้อกำหนดการทำ Leverage บัญชีจะแสดงคำว่า ‘not enough money’ (มีเงินในบัญชีไม่พอ) เมื่อคุณต้องการส่งคำสั่งซื้อ-ขาย

    หากคุณต้องการฝาก หรือถอนเงิน สามารถทำได้โดยเลือกปุ่ม ‘deposit’ (ฝาก) หรือ ‘withdraw’ (ถอน) จากหน้าบัญชีหลัก จากนั้นให้เลือกทำคำสั่งจากตัวเลือกที่แสดง ค่าธรรมเนียมการฝากและถอนของแต่ละโบรกเกอร์จะแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะฟรี ส่วนเวลาที่สามารถฝาก หรือถอนได้ จะขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ และวิธีการที่เลือก


    3. พื้นฐานการใช้ Metatrader 4 เบื้องต้น



    หากต้องการทำการซื้อ-ขาย ให้คลิกที่ปุ่ม ‘tools’ จากนั้นตามด้วยคำสั่ง ‘new order’ ระบบจะพาคุณไปยังหน้าการสั่ง หรือคุณอาจใช้ปุ่ม F9 ซึ่งเป็นปุ่มลัดได้ เมื่อไปถึงหน้าคำสั่งซื้อ-ขายแล้ว คุณจะเห็นหน้าจอที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย ซึ่งอาจจะดูน่าหวาดหวั่นในช่วงแรก แต่การใช้งานมันค่อนข้างง่าย เราลองมาทำความรู้จักคำสั่งแต่ละตัวกันที่ด้านล่าง


    Symbol – คุณสามารถเลือกตลาดได้ตรงนี้ว่าจะเป็น Forex, ทอง, หุ้น หรือดัชนี เป็นต้น

    Volume – คุณสามารถเลือกปริมาณของการซื้อ-ขายได้ตรงนี้ เช่น ต้องการซื้อ CFDs กี่ล็อต (lot) ซึ่ง 1 ล็อต จะมีค่าเท่ากับ 100,000 หน่วยของสกุลเงิน

    Type –  สำหรับคำสั่งนี้ หากคุณเลือก ‘instant execution’ ระบบจะส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เมื่อคุณคลิกเลือกปุ่ม ‘buy’ หรือ ‘hit’ ทันที ไม่อย่างนั้น คุณสามารถเลือกคำสั่ง ‘pending order’ แล้วไปตั้งค่าเวลาที่คุณต้องการเปิดทำการซื้อ-ขาย

    Stop-loss – เป็นคำสั่งสำหรับจัดการความเสี่ยงสำหรับนักลงทุน โดยคุณสามารถเลือกขนาดของความสูญเสียที่รับได้ ระบบติดตามหน่วยการเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาด (pips) และเลือกปิดการขายเมื่อมันถึงจุดที่ตั้งไว้

    Take-profit – เป็นคำสั่งที่มีให้คุณไว้จัดการกำไรของคุณ กล่าวคือ การซื้อ-ขาย จะปิดลงโดยอัตโนมัติ เมื่อกำไรขึ้นสูงถึงเพดานที่คุณตั้งค่าไว้

    Comment – เป็นคำสั่งที่คุณสามารถบันทึกข้อความ หรือคอมเม้นท์ต่างๆ ไว้ อาจเป็นการบันทึกการเทรดในแต่ละครั้ง เป็นต้น

    Slippage –  คือส่วนที่นักลงทุนสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ Slippage ของเราอยู่ในราคาเท่าไหร่ ด้วยการไปตั้งค่าที่คำสั่ง ‘deviation’


    การมอนิเตอร์ และปิดสถานะ (position)

    Position หมายถึงสัญญา หรือสถานะการซื้อ หรือขายที่เราเปิด หากต้องการดูสถานะของเรา ผู้ใช้ Metatrader 4 สามารถไปที่ส่วน terminal ของโปรแกรม จากนั้นเลือก ‘view’ ตามด้วย ‘terminal’ จากนั้น ให้คลิก ‘trade’ จากตรงนี้ หากนักลงทุนต้องการออกจากสถานะ หรือปิดสถานะ สามารถทำได้ด้วยการคลิก ‘x’ ที่ด้านขวามือของคอลัมน์ profit ผู้ใช้งาน Metatrader 4 ยังสามารถปรับการตั้งค่า stop และ limits ของสถานะด้วยการคลิกขวาที่สถานะ หรือที่ pending order ที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง แล้วเลือก ‘modify’

    https://www.daytrading.com/metatrader-4

    แผนภูมิ

    ในส่วนของการจัดการแผนภูมิ หรือกราฟที่แสดงผลข้อมูลต่างๆ นั้น นักลงทุนสามารถปรับได้ตามสิ่งที่คุณต้องการบน toolbar แล้วกดบนแผนภูมิ หากต้องการเปลี่ยนช่วงระยะเวลา (timeframe) ของแผนภูมิราคา ให้ผู้ใช้ คลิกขวาบนแผนภูมิ แล้วกดเลือก ‘timeframe’ จากนั้นจะมีคำสั่งย่อยให้คุณเลือก เช่น

    • M1 (1 นาที)

    • M5 (5 นาที)

    • M10 (10 นาที)

    • M15 (15 นาที)

    • M30 (30 นาที)

    • H1 (1 ชั่วโมง)

    • H4 (4 ชั่วโมง)

    • D1 (1 วัน)

    • MN (1 เดือน)

    อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไม่ได้ถูกจำกัดให้เลือกใช้กรอบระยะเวลาแค่ 9 ช่วงนี้เท่านั้น ผู้ใช้สามารถระบุเวลาเฉพาะมากกว่านั้นได้ เช่น 8 นาที หรือ 12 ชั่วโมง หรือ 3 เดือน เป็นต้น


    การเพิ่มอินดิเคเตอร์ (Indicators) และตัวเลือกเสริมอื่นๆ

    MetaTrader 4 มีตัวชี้วัดทางเทคนิค หรืออินดิเคเตอร์ที่ติดตั้งมาแล้วในซอฟต์แวร์กว่า 30 ตัว รวมถึงแผนภูมิตัวชี้วัดเพิ่มเติมอีกนับพันที่นักลงทุนสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้จาก Code Base ของ MetaTrader ไม่ว่าจะเป็นอินดิเคเตอร์ Elliot Wave indicator, Bollinger Bands หรือ Pivot Point ซึ่งเป็นเครื่องมือระบุระดับราคาที่เป็นแนวรับแนวต้านให้อัตโนมัติ

    การออกแบบให้สามารถเพิ่มส่วนเสริมในซอฟต์แวร์ MetaTrader 4 ได้ ทำให้นักลงทุนสามารถปรับแต่งโปรแกรม MetaTrader 4 ให้เข้ากับความต้องการในการใช้งานได้มากที่สุด ส่วนเสริมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือส่วนเสริม Stealth Orders และส่วนเสริม Alarm Manager โดยส่วนเสริม Stealth Orders จะทำหน้าที่ปิดบังการเทรด ส่วน Alarm Manager จะทำหน้าที่แจ้งเตือน


    นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถใช้ Java API เพื่อสร้างส่วนเขยาย (extension) เข้ากับซอฟต์แวร์ MetaTrader 4 ได้ด้วยตัวเอง มันอาจจะดูยากในการเริ่มต้นใช้ซอฟต์แวร์ MetaTrader 4 แต่เคล็บลับในการสร้างความคุ้นเคยกับมันมากขึ้น ก็คือการทดลองใช้งานจริง



    4.ข้อดี-ข้อเสียของ Metatrader 4

    4.1 ข้อดี

    • ง่ายต่อการใช้งาน รองรับทั้ง PC และสมาร์ทโฟน

    • ขนาดของซอฟต์แวร์ไม่หนักเกินไปสำหรับคอมพิวเตอร์ (ยกเว้นสำหรับผู้ใช้ Mac)

    • การออกแบบที่ใช้งานง่ายสำหรับนักลงทุนมือใหม่

    • ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการหลายระบบ เช่น Linux, Mac และ Windows ตลอดจน iOS และ Android

    • มีฟังก์ชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินดิเคเตอร์ เครื่องมือช่วยเหลือ การอัพเดทข้อมูล ข่าวสารต่างๆ มากมายให้นักลงทุนได้ใช้ และติดตาม

    4.2 ข้อเสีย

    • ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมสำหรับการทดสอบย้อนหลัง

    • ความเร็วในการดำเนินการยังไม่มากพอ ทำให้ไม่เหมาะสำหรับการซื้อขายที่มีความถี่สูง

    • ผู้ใช้ยังไม่สามารถซื้อ-ขาย แบบอัตโนมัติได้บนเว็บไซต์ของ MetaTrader 4

    • แพ็คเกจการสร้างแผนภูมิไม่มีตัวเลือกให้ผู้ใช้กำหนดกรอบเวลาเองได้



    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply