การเทรด CFD คืออะไร มีข้อดีอย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง พร้อมแนะนำกลยุทธ์ในการเทรด CFD คือ สั
CFD คือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง ซึ่งเป็นคนย่อมาจาก Contract for difference เป็นตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่ให้ผู้ซื้อขายได้ประโยชน์จากราคาของสินทรัพย์ที่ขึ้นลง ประเภทตราสารทางการเงินที่เทรด CFD ได้นั้นครอบคลุมหลากหลาย เช่น หุ้น Forex น้ำมัน ทองคำ สินค้าโภคภัณฑ์ ETF พันธบัตร สกุลเงินดิจิทัล ซึ่งผู้เทรดถือเป็นเจ้าของสัญญาแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ด้วยตนเอง คุณสามารถทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ CFD ได้ที่นี่
การเทรด CFD ต่างจากการเทรดหุ้นอย่างไร
แม้ว่าวิธีการเทรดจะคล้าย ๆ กับการซื้อขายหุ้น แต่การซื้อขายสัญญา CFD นั้นไม่ได้ทำให้คุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์จริงเพราะ CFD คือเครื่องมือสะท้อนราคาที่ขึ้นลงของสินทรัพย์ นอกจากนี้ การเก็งกำไรซื้อขาย CFD ยังต่างจากหุ้น ในขณะที่การซื้อขายหุ้นต้องคาดการณ์เพียงการเก็งกำไรซื้อหุ้นให้มีราคาสูงขึ้น แต่ในการซื้อขาย CFD คุณสามารถเลือกที่จะคาดการณ์แล้วเปิดเทรดซื้อขายราคาทั้งขาขึ้นและลง การเก็งว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นจากราคาที่คุณเปิดเทรด เรียกกว่า เทรดขาขึ้น (Buy Long) ส่วนการเก็งว่าราคาจะลดต่ำลง เรียกว่า เทรดขาลง (Sell Short) ซึ่งหากราคาเป็นไปตามที่คุณคาดการณ์คุณก็สามารถปิดเทรดแล้วได้กำไร ส่วนต่างที่ราคาเปิดกับราคาตอนปิดเทรดจะเป็นกำไรของคุณ ในทางกลับกันถ้าราคาไม่ได้เป็นไปตามที่คุณคาดการณ์ไว้คุณก็จะขาดทุนตามส่วนต่างเช่นกัน ดังนั้น เราเลยเรียกการเทรดแบบนี้ว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง นั่นเอง

ข้อดีของการเทรด CFD คือ
-
คุณสามารถเทรด CFD ได้ตลอด 24 ชั่วโมงใน 5 วันทำการ
-
เทรดตามการเคลื่อนไหวของตลาด เหมาะกับการเทรดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
-
สามารถใช้ทุนเงินที่น้อยแต่สร้างกำไรได้มากจากการใช้เลเวอเรจและมาร์จิ้น
-
กระจายความเสี่ยงได้เพราะมีตลาดและสินทรัพย์ที่หลากหลาย
-
สามารถเก็งกำไรได้ทั้งในราคาขาขึ้นและขาลง
ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ CFD ก่อนการทำซื้อขาย
เลเวอเรจ (Leverage)
เนื่องจากการเทรด CFD คือการซื้อขายด้วยเลเวอเรจ เราจึงต้องทำความรู้จักว่าเลเวอเรจ คือ เครื่องมือหนึ่งในการลงทุนที่ช่วยให้คุณซื้อสินทรัพย์ในปริมาณที่สูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่จริง ซึ่งโบรกเกอร์จะเป็นผู้ช่วยในการตั้งค่าตัวเลขเลเวอเรจตามที่คุณต้องการ สรุปง่าย ๆ ก็เหมือนกับคุณยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อขยายเงินทุนนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการซื้อสินทรัพย์ในราคา 100,000 บาท แต่คุณมีเงินลงทุนเพียง 10,000 คุณก็สามารถขอให้โบรกเกอร์ตั้งเลเวอเรจที่ 1 ต่อ 100 คุณก็จะสามารถเพิ่มจำนวนเงินทุนได้อีก 100 เท่าของเงินที่คุณมีอยู่จริง ถ้าคุณขอให้โบรกเกอร์ตั้งเลเวอเรจที่สูงขึ้นก็จะทำให้คุณสามารถเทรดใน Lot Size ได้สูงขึ้น หรือหมายความว่าคุณสามารถเปิดออร์เดอร์ได้มากขึ้น แม้มีเงินเท่าเดิม

มาร์จิ้น (Margin)
มาร์จิ้นในการเทรด CFD คือ เงินประกันที่ผู้เทรดต้องวางไว้กับโบรกเกอร์เพื่ออนุญาตให้ผู้เทรดใช้เลเวอเรจในการเทรดได้ ซึ่งโบรกเกอร์อาจเรียกเก็บดอกเบี้ยจากการใช้เลเวอเรจหรือการยืมเงินทุน แต่หากการเทรดของคุณขาดทุนจนเกินไป โบรกเกอร์ก็อาจจะออก Margin call ซึ่งโบรกเกอร์สามารถขายสินทรัพย์ของคุณได้โดยปราศจากความยินยอมของคุณ
เริ่มเทรด CFD
หลังจากที่ทำความเข้าใจว่า CFD คืออะไรพร้อมทั้งคำศัพท์อื่น ๆ ที่ต้องรู้ก่อนการเริ่มเทรด CFD แล้ว เราก็มาถึงขั้นตอนลงมือเทรด คุณสามารถเริ่มตามขั้นตอนได้ดังนี้
-
เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ CFD
การที่คุณจะเทรด CFD ได้คุณจำเป็นต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เท่านั้น โดยปกติในการเริ่มต้นโบรกเกอร์จะมีทั้งบัญชีจริงและบัญชีทดลองให้คุณ
-
เริ่มเปิดบัญชีทดลองจากโบรกเกอร์
หลังจากที่ศึกษาทำความเข้าใจว่า CFD คืออะไรแล้ว เราต้องเริ่มมือปฏิบัติแต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจก็สามารถเทรดเสมือนจริงแต่คุณสามารถซื้อขายได้โดยไม่ต้องใช้เงินทุนจริงแต่คุณก็จะไม่ได้กำไรหรือขาดทุนด้วยเช่นกัน
-
เปิดบัญชีจริง
หลังจากที่พร้อมเทรด CFD จริงแล้วก็ให้เปิดบัญชีจริงจากโบรกเกอร์ได้เลย โดยในบัญชีจริงคุณจะต้องกรอกรายละเอียดและยืนยันตัวตนที่แท้จริงผ่านพาสปอร์ต จากนั้นคุณต้องฝากเงินทุนไว้ หลังจากที่แพลตฟอร์มได้ตรวจสอบแล้วก็จะส่งข้อมูลลงทะเบียนไปที่อีเมลของคุณ
-
เลือกแพลตฟอร์มที่ดี
จริง ๆ แล้วแพลตฟอร์มการเทรด CFD มีอยู่มากมาย แต่ที่เป็นที่นิยมก็คือ MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 ที่มีฟีเจอร์หลายอย่างที่ช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเทรดได้ง่ายขึ้น เช่น กราฟ อินดิเคเตอร์
-
เปิดการเทรด
เริ่มจากเปิดแพลตฟอร์มแล้วค้นหาตราสาร CFD ที่ต้องการเทรด หลังจากการเลือกตราสาร CFD คือ การทำการ buy หรือ sell แล้วแต่การคาดการณ์ของคุณ
-
ปิดการเทรด Stop loss
เมื่อคุณต้องการหยุดคำสั่งซื้อขายหลังจากที่ได้เปิดไปแล้วคุณสามารถสั่งหยุด Stop loss ได้ หลังจากสั่งหยุดตัวแพลตฟอร์มก็จะแสดงยอดเงินกำไรขาดทุนจากการเปิดปิดเทรดในแต่ละครั้ง

แนะนำกลยุทธ์ในการเทรด CFD
การวางแผนกลยุทธ์การเทรดมักนำคุณไปสู่เป้าหมายกำไรที่ต้องการ เพราะนักลงทุนแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน คุณจึงควรศึกษากลยุทธ์ที่เหมาะสม ซึ่งกลยุทธ์ในการเทรด CFD คือ
-
การเทรดโมเมนตัม คือ การเทรดที่อาศัยความไวและต้องจับตาดูการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ต้องใช้ความซับซ้อนในการเทรด คุณสามารถเปิดการซื้อขายแล้วจับตาดูจังหวะที่คุณสามารถทำกำไรได้ก็ให้คุณปิดเทรดทันที การทำแบบนี้จะได้กำไรน้อยแต่ได้แน่ เหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากทำกำไรในระยะสั้น ๆ
-
การเทรดราคาทะลุกรอบ คือ การทำกำไรในช่วงที่ราคาทะลุกรอบ โดยใช้สถิติการซื้อขายก่อนหน้านี้แล้วสร้างกรอบหาพื้นที่แนวต้านที่คิดว่าราคาไม่สามารถทะลุกรอบนี้ไปได้ แต่หากราคาทะลุกรอบไปแล้ว ราคาหุ้นก็จะถูกดันให้สูงขึ้นในที่สุด ถือเป็นการเปลี่ยนกรอบการซื้อขายทำให้มีช่องว่างสามารถทำกำไรได้มากขึ้น
-
สกัลปิ้ง เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ตั้งใจและทุ่มเทเวลาให้กับการเทรด เป็นการซื้อขายสินทรัพย์ที่ขยับเล็กน้อยในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่นาที แต่ต้องซื้อขายหลายรอบในหนึ่งวัน การเทรดสกัลปิ้งยังเหมาะกับ CFD มาก ๆ เพราะสามารถใช้เลเวอเรจเพื่อเพิ่มจำนวนเงินทุนได้ ดังนั้นแม้ว่าราคาสินทรัพย์จะขยับเพียงเล็กน้อย แต่การใช้เลเวอเรจที่ดีก็สามารถช่วยเพิ่มกำไรได้เช่นกัน
สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเทรด CFD คืออะไรบ้าง
-
การเทรด CFD มีต้นทุนที่คุณต้องทำความเข้าใจก่อนเริ่มมือเทรด ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเทรด CFD คือ
-
สเปรด (Spread) เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ต้องจ่ายเมื่อลงทุนหรือถอนเงินทุนออก
-
ค่าคอมมิชชั่น เป็นเงินที่โบรกเกอร์เรียกเก็บจากนักลงทุนจากการซื้อขาย
-
ค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืน เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาการเทรดที่ข้ามคืนเพื่อให้สถานะการซื้อขายยังคงดำเนินต่อไป
-
การเทรด CFD คือการเทรดที่ช่วยให้คุณสามารถทำกำไรได้สูงแม้ว่าจะมีเงินลงทุนไม่มาก แต่นั่นย่อมหมายถึงความเสี่ยงในการขาดทุนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องวางแผนบริหารให้ดี
-
คุณอาจต้องมีเงินในบัญชีขั้นต่ำให้สัมพันธ์กับมูลค่าสถานะ ดังนั้นโบรกเกอร์อาจกำหนดให้คุณต้องเพิ่มเงินในบัญชี มิเช่นนั้นโบรกเกอร์อาจเรียก Margin call ขายสถานะคุณแบบขาดทุนหากพบว่ามีการขาดทุนมากเกินไป
การเทรด CFD คือการเทรดที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมากด้วยข้อดีที่หลากหลาย สามารถเปิดกว้างและให้อิสระในการลงทุนในตราสารหลายแบบทำให้กระจายความเสี่ยงได้ดี อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงในการซื้อขายจะน้อยลงการลงทุนแบบอื่น ผู้สนใจควรทำความเข้าใจตลาด CFD ให้ดี และฝึกฝนได้ด้วยการสร้างบัญชีทดลองก่อนที่จะทำการซื้อขายจริง
Comments
D. jhon shikon milon
Is this article helpful to you?
LikeReply