เทรด Forex ด้วย Leverage: เลเวอเรจ (Leverage) และมาร์จิ้น (Margin) คืออะไร?

    รู้จัก Leverage: เทรด Forex ด้วย Leverage



    1.เลเวอเรจ (Leverage) และมาร์จิ้น (Margin) คืออะไร?


    ตลาด Forex เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยแต่ละวัน มีมูลค่าเงินไหลเวียนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่วันละ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การเทรด Forex คือ การซื้อ และขายอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่างๆ โดยมีเป้าหมายว่าราคาของอัตราแลกเปลี่ยนจะทำกำไรให้กับนักลงทุน การเทรด Forex คือการตั้งราคาเรทสกุลเงินต่างๆ ซึ่งเหมือนกับการประมูล หรือการตั้งราคาเสนอซื้อ และเสนอขายให้กับโบรกเกอร์ โดยนักลงทุน หรือนักเก็งกำไรที่ต้องการซื้อสกุลเงินหนึ่งๆ จะได้รับการเสนอราคา และหากนักลงทุนต้องการขายสกุลเงิน พวกเขาก็จะได้รับราคาเสนอซื้อ


    ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนต้องการซื้อเงินสกุลยูโรด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ (EUR/USD) เพราะเชื่อว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะสูงขึ้น โดยนักลงทุนจะซื้อ EUR/USD ที่ราคาเสนอขาย ซึ่งอยู่ที่ 1.10 ดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดการณ์ว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะดีขึ้น และเมื่อสถานการณ์ในตลาดผ่อนคลาย นักลงทุน หรือนักเก็งกำไร คนเดิมก็จะขายเงิน EUR/USD จำนวนเดิมกลับไปให้โบรกเกอร์ โดยใช้ราคาเสนอซื้อ ส่วนต่างที่เกิดจากราคาตอนซื้อมา กับราคาที่ขายกลับในอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินดังกล่าว จึงหมายถึง กำไร หรือขาดทุนจากการซื้อ-ขายในตลาด Forex

    นักลงทุนใช้ “เลเวอเรจ” (Leverage) ในการเพิ่มกำไรจากการเทรด Forex โดยตลาด Forex จะเสนอเลเวอเรจในอัตราสูงสุดให้กับนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร “เลเวอเรจ” นั้น เปรียบเสมือน “เงินกู้” ที่โบรกเกอร์เสนอให้กับนักลงทุนในตลาด Forex เพื่อให้นักลงทุนมีทุนมาใช้ในการเทรด โดยบัญชีของนักลงทุน จะถูกออกแบบให้นักลงทุนสามารถเทรดอัตราแลกเปลี่ยนด้วย “มาร์จิ้น” (Margin) หรือเงินที่นักลงทุนวางไว้เป็น “หลักประกัน”

    โบรกเกอร์บางแห่งอาจจำกัดจำนวนเลเวอเรจสำหรับเทรดเดอร์ หรือนักลงทุนมือใหม่ อย่างไรก็ตาม โบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะให้นักลงทุน เลือกปริมาณเลเวอเรจที่ตัวเองต้องการได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น โบรกเกอร์จะรักษาทุนจำนวนหนึ่งไว้ในบัญชี ในรูปแบบเงินสด ของนักลงทุน ซึ่งทุนนี้จะเรียกว่า “หลักประกันขั้นต้น” (Initial Margin)


    2. สัดส่วนเลเวอเรจ (Leverage Ratios) และวิธีคำนวณสัดส่วน


    หลักประกันขั้นต้นที่กำหนดโดยโบรกเกอร์ให้เป็นปริมาณที่นักลงทุนต้องวางไว้ในบัญชี อาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโบรกเกอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของปริมาณการซื้อ-ขายด้วย หากนักลงทุนต้องการซื้อ EUR/USD ในจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วนั้น เขาจะต้องวางเงินซึ่งจะเป็นหลักประกัน (Margin) หรือในอีกทางหนึ่ง หมายความว่า นักลงทุนจะต้องวางหลักประกัน หรือมาร์จิ้น 1 เปอร์เซ็นต์จำนวนเงินที่ต้องการจะเทรด นั่นก็คือ หากจะซื้อ EUR/USD จำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ นักลงทุนจะต้องวางหลักประกัน จำนวน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ


    อัตราส่วนของเลเวอเรจที่โบรกเกอร์จะให้ จะแสดงให้เห็นว่าปริมาณการซื้อ-ขายมีการเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ อันเป็นผลมาจากหลักประกันที่นายหน้าถือครอง สำหรับตัวอย่างการซื้อ EUR/USD ที่เรายกตัวอย่างไปด้านบนนั้น หากให้เทียบอัตราส่วนของเลเวอเรจกับจำนวนที่ซื้อ จะคิดเป็นสัดส่วนที่ 100:1 ($100,000 / $1,000) หรือในอีกทางหนึ่ง สำหรับทุกๆ การวางหลักประกัน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุน จะสามารถออกคำสั่งสกุลเงินได้ ในจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวน 1 คู่สกุลเงิน

    ตัวอย่างเงื่อนไขการวางประกัน และอัตราส่วนเลเวอเรจ

    เงื่อนไขหลักประกัน (เปอร์เซ็นต์)

    อัตราส่วนเลเวอเรจ (Leverage Ratios)

    2%

    50:1

    1%

    100:1

    0.5%

    200:1

    อัตราส่วนเลเวอเรจเทียบเท่ากับข้อกำหนดเปอร์เซ็นต์การวางหลักประกัน


    จากตารางด้านบน เราจะเห็นว่า ยิ่งเปอร์เซ็นต์เงื่อนไขหลักประกันต่ำเท่าไหร่ เลเวอเรจที่จะใช้ในการเทรดก็จะสูงมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โบรกเกอร์อาจเรียกร้องการวางหลักประกันในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น ขึ้นอยู่กับสกุลเงินที่นักลงทุนจะซื้อ-ขาย ยกตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยนของเงินปอนด์ อังกฤษ ต่อ เงินเยนของญี่ปุ่น มีความผันผวน ซึ่งหมายความว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะแปรผันได้อย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้โบรกเกอร์เรียกเงินมาเก็บไว้เป็นหลักประกันมากขึ้น สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงเช่นกัน



    3. ใช้ Leverage เท่าไหร่ดี?


    หนึ่งในคำถามที่เทรดเดอร์ในตลาด Forex ถามกันอยู่บ่อยๆ คือ จะเทรดด้วยเลเวอเรจเท่าไหร่ดี ถึงแม้ว่าการใช้เลเวอเรจมาช่วยในการลงทุน โดยเฉพาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ หรือเทรดเดอร์ที่มีเงินทุนไม่สูงมากนัก เลเวอเรจนับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก อย่างไรก็ตาม นักลงทุน ควรใช้เลอเวอเรจอย่างระมัดระวัง เพราะการใช้เลเวอเรจที่สูงเกินไป อาจส่งผลต่อการขาดทุนในจำนวนที่สูงตามขึ้นไปด้วยเช่นกัน

    เลเวอเรจที่ดีที่สุด สำหรับการเทรด Forex ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่นักลงทุนสามารถนำมาใช้ได้ นั่นก็หมายถึงเงินลงทุนนั่นเอง มีคำแนะนำว่า สัดส่วน 1:100 - 1:200 คืออัตราส่วนเลเวอเรจที่ดีที่สุดสำหรับการซื้อ-ขายในตลาด Forex โดยนักลงทุนจะได้กำไรจากการซื้อ-ขายจากเงินมาร์จิ้น ซึ่งเป็นเงินที่เรายืมจากโบรกเกอร์  ซึ่งมีการประเมินความเสี่ยงแล้ว



    อัตราส่วนเลเวอเรจ แบบ 1:100 หมายความว่า หากคุณมีเงินในบัญชี 500 ดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนจะสามารถเปิดการซื้อ-ขายได้ในจำนวนทั้งหมด 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่กำลังดี ในการเริ่มต้นเทรดในตลาดซื้อ-ขายสกุลเงินต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรประเมินความเสี่ยงในการลงทุนอยู่ตลอดเวลา และไม่ควรชะล่าใจกับการได้เงินยืม หรือมาร์จิ้นก้อนนี้จากโบรกเกอร์ นักลงทุนควรมีเงินสำรองเก็บไว้เพื่อรองรับการหยุดขาดทุน (Stop L  oss) ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก่อนที่พอร์ตการลงทุนจะแตกนั่นเอง


    4. ข้อดี-ข้อเสียของ Leverage



    4.1 ข้อดีของการเทรดด้วย Leverage

    4.1.1 นักลงทุนสามารถเทรดได้ด้วยต้นทุนต่ำ การเทรด Forex ในอดีตสมัยที่ยังไม่มีการนำระบบเลเวอเรจมาใช้นั้น จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ ที่มีเงินทุนเยอะๆ เท่านั้น แต่เมื่อมีการนำเลเวอเรจมาใช้ ทำให้นักลงทุนรายเล็ก สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด Forex และยังสามารถทำกำไรได้ครั้งละมากๆ จากเงินทุนจำนวนน้อย


    4.1.2 เลเวอเรจไม่มีดอกเบี้ย เงินที่นักลงทุนจะได้จากโบรกเกอร์เพื่อเป็นเลเวอเรจนี้ เป็นเหมือนเงินกู้ หรือเงินให้ยืมที่ไม่มีดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนไม่ต้องกลัวจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โบรกเกอร์หากตัดสินใจเข้ามาซื้อ-ขายในตลาด Forex

    4.1.3 โอกาสในการทำกำไรสูงขึ้น การใช้เลเวอเรจในการเทรด Forex นั้นช่วยให้นักลงทุนสามารถเพิ่มขอบเขตในการทำกำไรของนักลงทุนได้ ยกตัวอย่าง เช่น หากนักลงทุนมีเงินอยู่ 100 ดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนคนนี้ สามารถเทรดในตลาด ได้ในจำนวนเงินสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการใช้เลเวอเรจ การเทรดด้วยเลเวอรูจสูงก็เพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับนักลงทุนได้สูงขึ้น

    4.2 ข้อเสียของการเทรดด้วย Leverage

    4.2.1 ปริมาณการสูญเสีย/ขาดทุนที่สูง การใช้เลเวอเรจที่โบรกเกอร์เสนอให้อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มาก แต่ในขณะเดียวกันมันก็เพิ่มเปอร์เซ็นต์ที่จะขาดทุนได้สูงมากเช่นกัน การเทรดด้วยเลเวอเรจที่สูงในตลาด Forex ต้องใช้ความระมัดระวัง และรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง โดยนักลงทุนทุกคนต้องสามารถตัดสินใจหยุดได้ เมื่อทิศทางราคาเริ่มไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้

    4.2.2 เลเวอเรจคือหนี้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ การใช้เลเวอเรจ ได้สร้างหนี้ขึ้นอย่างทันที ซึ่งจะต้องมีการใช้เงินคืนเมื่อสิ้นสุดวัน นักลงทุนจะต้องชดใช้จำนวนเงินทั้งหมดของเลเวอเรจ โดยไม่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่นๆ หรือไม่ว่าการทำธุรกรรมจะเพิ่มขึ้น หรือลดลง หากคุณต้องการที่จะเทรดต่อ คุณต้องชำระค่าเลเวอเรจให้หมดก่อน ถึงจะสามารถซื้อ-ขายต่อได้กับโบรกเกอร์


    4.2.3 ความเสี่ยงของถูกเรียกเตือน (Margin Call) ความเสี่ยงที่นักลงทุนในตลาด Forex จะต้องเจอหากเลือกใช้เลเวอเรจ การกำหนดปริมาณการซื้อ-ขาย ที่นักลงทุนจะต้องเทรดตามเงินทุนของตัวเอง โดยหากการเทรดของคุณไปถึงจุดที่ต่ำกว่าที่ทางโบรกเกอร์กำหนด คุณอาจถูกเรียกเตือน หรือที่ในตลาดเรียกว่า “Margin Call” ซึ่งอาจส่งผลให้พอร์ทของคุณโดนล้างไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณจะสูญเสียสัญญา (Position) ในการเทรดไปทั้งหมด การใช้เลเวอเรจ จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรระมัดระวังให้มากเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับพอร์ตของคุณ



    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply