Return on Assets (ROA) คืออะไร พร้อมสูตรคำนวณ ROA
ความสำคัญของ Return on Assets (ROA)
ROA ย่อมาจาก Return on Asset หมายถึงอัตราส่วนทางการเงินที่เปรียบเทียบระหว่าง กำไรสุทธิ (Net Income) และ สินทรัพย์รวม (Assets) เป็นอีกอัตราส่วนอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถศึกษาประสิทธิภาพของหุ้นหรือบริษัทที่อย่างจะลงทุนเพราะหาก ROA มีค่าสูงก็หมายความว่าบริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่ลงทุนมาบริหารธุรกิจให้เกิดกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากในทางกลับกันหากค่า ROA ต่ำโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเดียวกันย่อมหมายถึงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ที่ลดลงด้วย
สูตรการคำนวณ ROA
เนื่องจาก ROA เป็นอัตราส่วนทางการเงินเราสามารถทราบที่มาของค่า ROA ได้จากสูตรดังนี้
“กำไรสุทธิ (Net Income)/สินทรัพย์รวม (Assets) x 100 (Percentage)”
ที่มาของจำนวนกำไรสุทธิและสินทรัพย์รวม
· กำไรสุทธิ (Net Income) คือกำไรของบริษัทหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ซึ่งกำไรสุทธิไม่ได้รวมถึงเงินทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่าประจำ
· สินทรัพย์รวม (Assets) คือทรัพย์สินของบริษัทอันได้แก่ ที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ยานพาหนะ ต้องคิดเป็นค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์รวมในแต่ละช่วงเวลาเนื่องจากความจำเป็นในการซื้อสินทรัพย์เพิ่มสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเป็นการใช้จ่ายเพื่อให้ได้กำไรในระยะยาว
อย่างไรก็ตามสินทรัพย์ถือเป็นเงินทุนบริษัทที่คิดรวมจากหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นด้วย หมายความว่าสินทรัพย์ของบริษัทอาจมีที่มาจากเงินของนักลงทุนหรือมาจากการสร้างหนี้สิน นักลงทุนและนักวิเคราะห์ทางการเงินบางคนอาจเพิกเฉยต่อตัวเลขที่มาของสินทรัพย์นี้โดยการเพิ่มดอกเบี้ยของเงินที่กู้ยืมลงไปในสูตรการคำนวณ นั่นหมายถึงว่าการสร้างหนี้ที่มากขึ้นบริษัทอาจถูกมองข้ามโดยการบวกต้นทุนการกู้ยืมกลับเข้าไปในกำไรสุทธิและใช้สินทรัพย์เฉลี่ยในช่วงเวลาที่กำหนดเป็นตัววัด ค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยจะถูกเพิ่มเข้ามาเนื่องจากจำนวนเงินกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนไม่คิดรวมดอกเบี้ย

ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถลงลึกไปในรายละเอียดที่มาของตัวเลขในสูตร ROA ได้อีก 2 แบบ ดังนี้
1. กำไรสุทธิ + [ดอกเบี้ย x (1- อัตราภาษี)] / สินทรัพย์รวม
2. กำไรจากการดำเนินงาน x (1- อัตราภาษี) / สินทรัพย์รวม
ตัวอย่างการใช้ ROA
เมื่อเราเข้าใจสูตรและความหมายแล้ว เรามาดูตัวอย่างวิธีการใช้สูตร ROA ในสถานการณ์จริงกันโดยมีชุดข้อมูลว่า
“บริษัท Auto สินทรัพย์ในปี พ.ศ. 2563 เท่ากับ 1,000,000 บาท ส่วนในปี พ.ศ. 2564 มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 1,200,000 บาท บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิในปี พ.ศ. 2564 ได้จำนวน 1,000,000 บาท” เราจะสามารถคำนวณ ROA ได้ดังนี้
1. คิดค่าเฉลี่ยสินทรัพย์รวมของบริษัท Auto ทั้งสองปี เท่ากับ (1,000,000 + 1,200,000)/2 = 200,000 บาท
2. แทนค่า ROA จะได้เป็น (กำไร 200,000 / สินทรัพย์ 1,100,00) x 100 = 18%
กำไรสุทธิ 200,000 บาท/สินทรัพย์รวมเฉลี่ย 2 ปี 1,100,000 บาท ดังนั้นบริษัท Auto มีอัตราส่วน ROA คิดเป็น 18% นั้นหมายความว่าบริษัทสามารถสร้างรายได้ 18 บาทในทุก ๆ สินทรัพย์ 100 บาท หรือสินทรัพย์มูลค่า 100 บาท สามารถก่อให้เกิดกำไรแก่บริษัทได้ 118 บาทนั่นเอง
ความแตกต่างระหว่าง ROA และ ROE
แม้ว่า ROA และ ROE จะเป็นค่าอัตราส่วนที่ช่วยให้เราทราบถึงความสามารถของบริษัทในการทำกำไร แม้ว่าทั้งสองจะเป็นการคำนวณอัตราส่วนกำไรสุทธิออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน แต่ก็มีตัวหารที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของ ROA นั้นเราต้องหารกำไรสุทธิกับทรัพย์สินรวมของบริษัททั้งที่ดิน สถานที่ เครื่องจักรทำงาน ในขณะที่ ROE จะต้องหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นเพื่อหาผลตอบแทนต่อเงินทุนที่ได้ลงทุนไป
สมมติว่าบริษัท Hightech มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 100,000 บาท สินทรัพย์รวม 500,000 บาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 700,000 จะสามารถคำนวณอัตราส่วนได้ดังนี้
· ROA = (กำไรสุทธิ 100,000/สินทรัพย์ 500,000) x 100 = 20%
· ROE = (กำไรสุทธิ 100,000/ส่วนของผู้ถือหุ้น 700,000) x 100 = 14%
จะข้อมูลบริษัท Hightech ข้างต้น จะทำให้เราทราบว่าบริษัทที่อัตราส่วน ROA 60% ในขณะที่ ROE 42%
ROA ที่ดีควรเป็นอย่างไร
ค่า ROA ที่ดีในอันดับแรกนั้นควรมีค่าสูง ยิ่งสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้ดีเท่านั้นเพราะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไปให้เกิดกำไรมากกว่าเงินต้น ถัดมาต้องเทียบค่า ROA กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น เพราะในแต่ละธุรกิจอาจมีค่าเฉลี่ย ROA ด้วยลักษณะเฉพาะของธุรกิจเนื่องจากสินทรัพย์ที่ต้องใช้ในการดำเนินกิจการ เช่น ธุรกิจรีสอร์ท มักมีสินทรัพย์ที่มากกว่าธุรกิจอื่น ๆ เพราะต้องมีอสังหาริมทรัพย์จึงอาจทำให้ ROA น้อยกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นโดยเฉพาะธุรกิจที่ไม่ต้องใช้สินทรัพย์อย่างอสังหาริมทรัพย์หรือเครื่องจักร
ขั้นตอนการพิจารณาวิเคราะห์ ROA ของแต่ละบริษัท
จากสมมติข้อมูลเพื่อคิดค่า ROA ของบริษัท Auto และบริษัท Hightech ข้างต้น หากว่าทั้งสองบริษัทอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เราสามารถลองเปรียบเทียบ ROA ของทั้งสองบริษัทได้ดังนี้
เปรียบเทียบ ROA ต่อบริษัท
บริษัท Auto มี ROA 18% ในขณะที่ Hightech มี ROA 20% ถ้าพิจารณาเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า Hightech มีค่า ROA ที่สูงกว่า Auto อยู่ 2% ในแง่นี้บริษัท Hightech ย่อมน่าลงทุนด้วยมากกว่า
เปรียบเทียบ ROA เฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรม
ต่อมาให้พิจารณาค่าเฉลี่ย ROA ของบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันกับบริษัท Auto และ Hightech ก็พบว่าค่าเฉลี่ย ROA โดยทั่วไปเท่ากับ 15% ดังนั้นจึงหมายความว่าทั้งสองบริษัทนี้มีอัตราค่า ROA สูงกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หากมองในแง่นี้ ทั้งบริษัท Auto และ Hightech ก็น่าลงทุนด้วยทั้งคู่
เปรียบเทียบ ROA กับขนาดบริษัทที่คล้ายกัน
นอกจากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว เราควรเปรียบเทียบค่า ROA กับบริษัทที่มีขนาดคล้ายกันด้วย สมมติว่าบริษัท Auto มีขนาดใหญ่กว่าบริษัท Hightech สองเท่าตัว ในขณะนั้นที่ค่า ROA ไม่ต่างกันมากนั้น ก็หมายความว่าบริษัท Hightech อาจดำเนินกิจการได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
สังเกตว่า ROA สูงผิดปกติหรือไม่
แม้เราจะได้กล่าวไปแล้วยิ่ง ROA ก็ยิ่งดี แต่หาก ROA มีค่าสูงเกินไปอาจหมายถึงว่าบริษัทนั้นกำลังก่อหนี้มากยิ่งขึ้นไปด้วย เพราะดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่าค่าสินทรัพย์รวมอาจมีที่มาจากเงินของนักลงทุนหรือมาจากการกู้ยืมเงินก็ได้ ดังนี้หากเราสามารถศึกษางบการเงินบริษัทให้ละเอียดเพื่อตรวจสอบดูมูลค่าหนี้สินด้วย
มองดูอัตราส่วนอื่น ๆ
เมื่อเราพบว่าทั้งบริษัท Auto และ Hightech ต่างก็เป็นบริษัทที่น่าลงทุนในหุ้นด้วยทั้งคู่แล้ว เรายังต้องมาพิจารณารายละเอียดตัวเลขอื่น ๆ ของทั้งสองบริษัท เช่น อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อีกด้วย ทั้งนี้เพราะอัตราส่วน ROA เพียงอย่างเดียวอาจมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน และเพื่อให้เห็นภาพรวมตัวเลขอื่น ๆ จากการบริหารงานของบริษัท เราจึงไม่ควรศึกษาเพียง ROA
สรุป
อัตราส่วน ROA แม้ว่าจะเป็นอัตราส่วนสำคัญสำหรับนักลงทุนในการศึกษาตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทว่ามีการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดกำไรได้หรือไม่ แต่อัตราส่วน ROA ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างดังที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น คือ ต้องใช้เปรียบเทียบบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวเท่านั้น นอกจากนี้นักเคราะห์ทางการเงินบางท่านยังเห็นว่าแท้จริงแล้ว ROA อาจเหมาะสำหรับการใช้วัดค่าในกลุ่มธุรกิจธนาคารเพราะงบดุลของธนาคารแสดงมูลค่าแท้จริงของสินทรัพย์รวมและหนี้สินได้ครบถ้วนกว่างบดุลของกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ เนื่องจากต้องแสดงมูลค่าตามราคาตลาด
ในส่วนของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจะมีการแยกส่วนหนี้และเงินทุนอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับผลตอบแทนของแต่ละบริษัทโดยดอกเบี้ยคือผลตอบแทนสำหรับผู้ที่ให้บริษัทกู้ยืม ส่วนกำไรสุทธิคือผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนในหุ้นส่วน ดังนั้นสูตร ROA ทั่วไปจึงทำให้เกิดความสับสนโดยการเปรียบเทียบผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในหุ้น (รายได้สุทธิ) กับสินทรัพย์ที่ได้รับทุนจากทั้งนักลงทุนหุ้นและหนี้สิน (สินทรัพย์รวม) ดังนั้นการคำนวณ ROA ควรใช้สูตรที่ลงรายละเอียดไปถึงหนี้สินและภาษีที่บริษัทต้องจ่ายดังที่ได้กล่าวไปในหัวข้อสูตรคำนวณ ROA จากสูตร 2 แบบใหม่ด้านบนนี้จะช่วงให้เราเห็นที่มาและรายละเอียดของสินทรัพย์รวมก่อนจะที่นำมาคำนวณเป็นอัตราส่วน ROA ได้ดีขึ้น ดังนั้นนอกจากนักลงทุนจะต้องรู้สูตร ROA แล้วยังต้องศึกษาลงลึกไปถึงที่มาของตัวเลขเพื่อให้มั่นใจว่าตัวเลขทางการเงินที่ดีนั้นมาจากปัจจัยที่ดีจริง ๆ อย่าให้ตัวเลขสูง ๆ ที่เห็นชี้นำเราไปในการลงทุนที่ผิดพลาดและทำให้ขาดทุนในท้ายที่สุด
Comments
D. jhon shikon milon
Is this article helpful to you?
LikeReply