เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น: โบรกเกอร์เจ้าไหนให้เรทถูกที่สุดในปี 2021

    เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น: โบรกเกอร์เจ้าไหนให้เรทถูกที่สุดในปี 2021

    1. ทำความเข้าใจค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น

    2. โบรกเกอร์เจ้าไหนเก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด

    3. 5 โบรกเกอร์ในไทยที่ไม่มีขั้นต่


    ปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาสนใจเรื่องการซื้อขายหุ้นกันมากขึ้นเป็นช่องทางในการหารายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งก็ถือว่าเป็นความคิดที่ไม่เลว เพราะการซื้อขายหุ้นไม่ใช่เรื่องที่ยากหรือไกลตัวจนเกินไปในยุคปัจจุบันที

    อย่างไรก็ตาม การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง จำเป็นอย่างยิ่งที่นักลงทุนควรศึกษาหาข้อมูล มีความรู้ ความเข้าใจที่มากพอ ก่อนการตัดสินใจลงทุน เพื่อก้าวเดินอย่างมั่นคงในตลาดนี้ เหมือนคำกล่าวที่ว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"

    รูปแบบการเทรด ต้องอาศัยโบรกเกอร์ เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ ย่อมมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น หรือ Commission ต่าง ๆ มากมาย และแต่ละเจ้าก็มีเรทค่าธรรมเนียมมากน้อยต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงนำข้อมูลของแต่ละโบรกเกอร์มาเปรียบเทียบค่าคอมหุ้นให้เห็นกันชัด ๆ ไปเลยว่าโบรกเกอร์ไหนคือ โบรกเกอร์ค่าธรรมเนียมถูกที่สุด เก็บค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ เพื่อเป็นทางเลือกและเพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรจากการซื้อขายหุ้น

    1. ทำความเข้าใจค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น

    เราย่อมคุ้นเคยกับคำว่า ‘ค่าธรรมเนียม’ ที่เราต้องจ่ายให้กับผู้ให้บริการต่าง ๆ ตามที่เราได้ใช้บริการนั้น ๆ เช่นเดียวกับ “ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น” ต่าง ๆ นานา ที่เราต้องจ่ายให้โบรกเกอร์สำหรับการดำเนินการต่าง ๆ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าจำเป็นที่ผู้ลงทุนอย่างพวกเราควรรู้ว่ามีค่าธรรมเนียมประเภทใดบ้างที่โบรกเกอร์เรียกเก็บจาก

    - ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Trading Fee) 0.005%

    - ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (TSD Clearing Fee) 0.001%

    - ค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล (Regulatory Fee) 0.001%

    - ค่าคอมมิชชั่นจากโบรกเกอร์ (Commission Fee) ซึ่งแต่ละโบรกเกอร์จะเรียกเก็บส่วนนี้ในเรทที่แตกต่างกัน

    - ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หรือเข้าใจแบบง่าย ๆ คือ นำทุกเรทมารวมกัน แล้วบวกเพิ่มอีก 7% ของผลรวมที่ได้

    การคำนวณเพื่อหาว่าโบรกเกอร์เจ้าไหนเก็บค่าคอมมิชชั่นมากหรือน้อย ทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากหาให้ได้ว่า เรทที่โบรกเกอร์เรียกเก็บประกอบด้วยค่าธรรมเนียมประเภทใดบ้าง (สังเกตจากเขื่อนไขในส่วนท้ายของประกาศ) จากนั้น นำเรทของค่าธรรมเนียมแต่ละประเภท โดยพิจารณาด้วยว่า แต่ละเรทที่ได้นั้นเป็นเรทที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ หรือเรทที่ได้เป็นเรทของค่าธรรมเนียมเดียว ไม่ใช่เรทของสองค่าธรรมเนียมรวมกัน และค่าเรทสุดท้ายก็คือ ค่าคอมฯ ของโบรกเกอร์นั้น ๆ

    ดูได้จากตัวอย่างนี้

    โบรกเกอร์ A เรียกเก็บค่าคอมฯ 0.20% (นี่คือเรทที่ไม่รวมกับค่าธรรมเนียมอื่น) จากนั้น ให้เราคำนวณได้โดย 0.20% + 0.007% (ผลรวมของค่าธรรมเนียมที่เหลือ) ดังนั้น เรทค่าคอมมิชชั่นรวม ที่โบรกเกอร์ A เรียกเก็บจากผู้ลงทุน คือ 0.207%

    ขั้นตอนสุดท้าย เริ่มจากหาค่า 7% ที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าคอมฯ รวม ( 0.207%) ค่าที่ได้คือ 0.014% จากนั้น นำค่าคอมฯ รวมข้างต้นมาบวกกับค่าที่คำนวณได้เมื่อสักครู่ (0.207 + 0.014 = 0.221) และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ค่าคอมฯ รวมภาษี เรทที่จะถูกเรียกเก็บจากนักลงทุน คือ 0.221%

    สรุปง่าย ๆ คือ ถ้าเราซื้อขายหุ้น 1,000,000 บาท นักลงทุกต้องเสียค่าธรรมเนียมให้โบรกเกอร์ A เป็นจำนวนถึง 2,210 บาทเลยทีเดียว

    2 โบรกเกอร์เจ้าไหนเก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด?

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดการซื้อขายหุ้นในไทยมีการแข่งขันที่สูง ส่งผลให้บริษัทหลักทรัพย์แต่ละบริษัทมีการคิดกลยุทธ์หรือคิดเรทราคาค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นที่แตกต่างกัน เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ เรามาดูกันว่ามีค่าคอมมิชชั่นจากเจ้าไหนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนอย่างพวกเรา

    Kasikorn Securities

    โบรกเกอร์แรก คือ โบรกเกอร์กสิกรที่คิดเรทขั้นต่ำ 0.25% สำหรับการเทรดที่ส่งคำสั่งผ่านมาร์เก็ตติ้งในทุกรูปแบบบัญชี โดยมีเรท 0.20% สำหรับการเทรดที่ส่งคำสั่งผ่านส่งคำสั่งผ่านอินเทอร์เน็ตของบัญชีวงเงิน (Cash Balance) และ 0.15% สำหรับบัญชีวางเงินเต็มจำนวน (Cash Account) ของการส่งคำสั่งผ่านอินเทอร์เน็ต และบัญชีเงินกู้ (Margin Credit Balance) รวมไปถึงคิดเรทขั้นต่ำที่ 50 บาท สำหรับการซื้อขายในทุกประเภทบัญชี เรททั้งหมดนี้ยังคงเป็นเรทขั้นต่ำมาตรฐานของค่าธรรมเนียม

    Bualuang Securities

    หลักทรัพย์ต่อไป คือ หลักทรัพย์บัวหลวงที่ถือว่าเป็นโบรกเกอร์เก่าแก่โบรกเกอร์หนึ่ง ซึ่งยังมีการใช้ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นมาตรฐานเช่นเดียวกับบริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ แต่มีการลดค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำต่อวันอยู่ที่ 50 บาท เช่นเดียวกับหลักทรัพย์กสิกร

    บัวหลวงยังคงคิดเรทค่าธรรมเนียมซื้อขายขั้นต่ำสำหรับคำสั่งผ่านมาร์เก็ตติ้ง คือ 100 บาทต่อวันซึ่งยังคงเป็นเรทมาตรฐาน กลยุทธ์นี้ถูกปรับเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าที่ส่งคำสั่งผ่านอินเทอร์เน็ตให้เพิ่มปริมาณการซื้อขายต่อวันมากขึ้น

    Phillip Securities

    โบรกเกอร์ฟิลลิป เป็นโบรกเกอร์สัญชาติสิงคโปร์โดยมีรูปแบบการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นแบบมาตรฐาน แต่มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การซื้อขายขั้นต่ำโดยการซื้อขายหุ้นไม่ว่าช่องทางไหนหรือบัญชีใดโบรกเกอร์นี้จะไม่คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายขั้นต่ำ ถือว่าเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน จึงทำให้โบรกเกอร์ฟิลลิปมีความน่าเชื่อถือสูง และเป็นที่รู้จักในหมู่นักลงทุน

    SBITO Securities

    การเข้ามาของโบรกเกอร์สไบโตะ ที่เป็นโบรกเกอร์จากญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเจ้าใหม่ที่มาพร้อมข้อเสนอของเรททำให้เป็นที่สนใจสำหรับนักลงทุนที่ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยการปรับลดค่าคอมมิชชั่นสำหรับการเทรดผ่านอินเตอร์เน็ตให้ต่ำกว่าเรทมาตรฐานกว่าครึ่งด้วยโดยมีเรทเพียง 0.1% มีขั้นต่ำต่อวันที่ 50 บาทสำหรับบัญชี Cash Account และ 0.075% สำหรับบัญชี Cash Balance/ Margin Credit Balance โดยที่ไม่มีขั้นต่ำต่อวัน นอกเหนือจากเรทดังกล่าว เจ้านี้ยังคงใช้เรท มาตรฐานด้วยขั้นต่ำ 50 บาท เช่นเดียวจากโบรกเกอร์อื่น ๆ

    นับว่าเป็นโบรกเกอร์ที่ทำให้นักลงทุนทางอินเตอร์หันมาสนใจ เนื่องจากมีเรทค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นค่อนข้างต่ำเลยทีเดียว

    z.com Securites

    โบรกเกอร์ z.com ถือเป็นโบรกเกอร์น้องใหม่ของทางเช่นเดียวกับโบรกเกอร์สไบโตะ ซึ่งอาจจะไม่คุ้นหูสำหรับนักลงทุนบางท่าน โดยมีการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายโดยเน้นไปยังกลุ่มผู้ลงทุนผ่านระบบออนไลน์ชัดเจน แต่คิดค่าธรรมเนียมการซื้อที่ผ่านระบบมาร์เก็ตติ้งที่ค่อนข้างสูงกว่ามาตรฐาน

    โดยเจ้านี้ให้บริการด้วยเรทขั้นต้นที่ 0.065% สำหรับบัญชี Cash Balance และบัญชีเงินกู้ (Margin Credit Balance) ของซื้อขายด้วยตัวเองผ่านอินเตอร์เน็ต และมีเรทขั้นต่ำ 0.3% สำหรับการซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีขั้นต่ำในการซื้อขายต่อวัน จากเรทดังกล่าว ทำให้ z.com มีเรทการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตที่น่าจะถูกที่สุดในตลาดตอนนี้

    ตารางสรุปค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นของโบรกเกอร์แต่ละเจ้า

    โดยมีมูลค่าการซื้อขายหุ้นต่ำกว่า 5 ล้านบาทต่อวัน


    โบรกเกอร์

    Online Trading**

    ซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่**

    Cash Balance

    Cash Account

    Credit Balance

    Kasikom Security

    ค่าธรรมเนียม

    0.16%

    0.21%

    0.16%

    0.26%

    ขั้นต่ำต่อวัน

    ฿50

    ฿50

    ฿50

    ฿50

    Bualuang Security

    ค่าธรรมเนียม

    0.16%

    0.21%

    0.16%

    0.26%

    ขั้นต่ำต่อวัน

    0

    ฿0-100*

    ไม่ระบุ

    ฿100

    Phillip Security

    ค่าธรรมเนียม

    0.16%

    0.21%

    0.16%

    0.26%

    ขั้นต่ำต่อวัน

    0

    0

    0

    0

    SBI Security

    ค่าธรรมเนียม

    0.08%

    0.11%

    0.08%

    0.26%

    ขั้นต่ำต่อวัน

    0

    ฿50

    0

    ฿50

    z.com Security

    ค่าธรรมเนียม

    ไม่ระบุ

    0.07%

    0.07%

    0.31%

    ขั้นต่ำต่อวัน

    ไม่ระบุ

    0

    0

    0



    * ค่าคอมฯ ขั้นต่ำต่อวันของบัวหลวงบัญชี Cash Balance ไม่มีขั้นต่ำสำหรับการเทรดผ่านอินเตอร์เน็ตและรับใบคอนเฟิร์มผ่าน E-Confirm และคิดขั้นต่ำ 100 บาทต่อวันหากรับเอกสารทางไปรษณีย์หรือห้องค้า

    ** ค่าธรรมเนียมซื้อขายนี้รวมค่าธรรมเนียมหลักทรัพย์ 0.005%, ค่าธรรมเนียมการชำระราคาฯ 0.001%, ค่าธรรมเนียมกำกับดูแล 0.001%, ไม่รวม VAT 7%


    3.  5 โบรกเกอร์ในไทยที่ไม่มีขั้นต่ำ

    1. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง

    บัวหลวง เป็นโบรคเกอร์ที่มีประสบการณ์และอยูในในตลาดหุ้นมานาน และยังเปิดบัญชีง่าย และมีความ เชี่ยวชาญในการลงทุนกับกองทุนใหญ่ ๆ ในประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการเงินที่คอยวิเคราะห์และเปรียบเทียบให้ผู้ใช้บริการผ่านเว็บไซด์ที่พัฒนาระบบ เพื่อคอยส่งข้อมูลทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นที่ถูก ซื้อขายโอนเงินผ่านบัญชีบัวหลวงได้อย่างรวดเร็ว คิดค่าคอมมิชชั่นตามการซื้อขายจริง นับว่าเป็นโบรกเกอร์เจ้าใหญ่ที่คอยให้บริการในตลาดหุ้นไทยมานาน

    2. บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ SCB

    ไทยพาณิชย์ เป็นโบรกเกอร์ที่มีจุดเด่นอยู่ที่การเปิดพอร์ตที่แสนง่าย หากคุณมีบัญชีเงินฝากกับไทยพาณิชย์อยู่แล้ว คุณสามารถเปิดได้โดยไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลย และใช้เวลารอผลใน 15 นาทีเท่านั้น แต่สำหรับผู้ใช้บริการหน้าใหม่ที่ไม่เคยใช้บัญชีเงินฝากของไทยพาณิชย์ คุณก็แค่ส่งเอกสารกรอกใบสมัครใหม่ตามขั้นตอนทั่วไปของการเปิดบัญชี โดยมีขั้นต่ำเล็กน้อยสำหรับการฝากถอนสำหรับบัญชี Cash Balance

    3. บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ SBI

    เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ หรือ SBITO เป็นเจ้าที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ใช้ระบบ Streaming บนมือถือทั้ง iOS และ Android ในการซื้อขายด้วยระบบอย่างเสถียร มีโปรโมชั่นเป็น e-Voucher กับ Tesco Lotus เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการที่ต้องการเปิดบัญชีออมหุ้น มีระบบการเบิกถอนเงินที่ใช้งานง่าย และมีเจ้าหน้าคอยดูแล ใส่ใจ ดังนั้น ไม่แปลกเลยที่จะมีลูกค้าจำนวนมากสนใจใช้บริการทั้งลูกค้ารายเล็กและรายใหญ่

    4. บริษัทหลักทรัพย์ ซิตี้คอร์ป (ประเทศไทย)

    ซิตี้คอร์ป คงเป็นเรื่องน่าแปลกหากไม่มีชื่อของ ซิตี้คอร์ป เพราะเจ้านี้คือผู้ให้บริการที่ว่ากันว่า วิเคราะห์ดีที่สุดเจ้าหนึ่ง ผ่านทีมเครื่องข่าย Citigroup Investment Research (CIR) แถมดึงดูดลูกค้าด้วยการให้สิทธิ์ Citi Gold ที่สามารถใช้เดินทางทั่วโลก สำหรับลูกค้าที่มีพอร์ตการลงทุนตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด นอกจากนี้ คุณสามารถลงทุนกับตลาดหุ้นต่างประเทศได้อีกด้วย

    5. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง Maybank Kim Eng (ประเทศไทย)

    เมย์แบงก์ นับว่าเป็นเจ้าที่ดูแลเอาใจใส่ลูกค้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะบริการของมาร์เก็ตติ้ง คอยให้คำแนะนำอย่างเป็นกันเอง สำหรับลูค้าที่สนใจการเทรดแบบรายวัน หรือตามเวลาเปิดปิดของตลาด ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในไทย และมีความสะดวกทั้งการโอนเงิน และเปิดบัญชี และการเก็บเรทค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผล เพราะเหตุนี้ ลูกค้าจึงไว้วางใจเป็น ระยะเวลานานหลายปี เหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินลงทุนไม่เยอะมาก


    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply