เปิดพอร์ตหุ้น ที่ไหนดี ? มือใหม่อยากเล่นหุ้น
.jpg)
การเล่นหุ้นเพื่อความมั่นคงและอิสระทางการเงินนั้น ปัจจุบันสามารถดำเนินการเปิดพอร์ตได้อย่างง่ายดาย นอกเหนือจากการลงทุนโดยตรงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ผู้ที่มีความสนใจสามารถเลือกเปิดบัญชีหุ้น และดำเนินการกับโบรกเกอร์ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ในประเทศไทยและนอกประเทศ ซึ่งมีทั้งกับธนาคารหรือกับโบรกเกอร์อิสระที่นำเสนอสิทธิพิเศษมากมาย เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่อยากเล่นหุ้นตัดสินใจร่วมลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับแจ้งเตือนแบบออนไลน์, ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ, การให้คำปรึกษาที่เข้าถึงง่าย หรือระบบการใช้งานแอปพลิเคชันที่สะดวก ไม่ซับซ้อนสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุน บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุน, เอกสารที่จะต้องใช้สำหรับการเปิดพอร์ต และรวมถึงรายละเอียดโบรกเกอร์สำหรับการลงทุนที่มือใหม่ควรทราบ
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การลงทุนโดยหลักสามารถทำการซื้อขายหุ้นบริษัทหรือกิจการที่น่าสนใจในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่านั้น ผู้ซื้อสามารถเลือกกิจการที่ตนสนใจและเข้าซื้อหุ้นได้เลย จากนั้นผู้ซื้อจะได้กรรมสิทธิ์หุ้นในกิจการนั้น ๆ ทำให้ผู้ซื้อกลายเป็นผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทหรือกิจการดังกล่าว การขายก็เช่นกัน ทั้งนี้ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบและวิธีดำเนินการตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด เช่น การลงทุนด้วยจำนวนหุ้นขั้นต่ำ 100 หุ้น และค่าธรรมเนียมการดำเนินการซื้อ-ขายหุ้น ประมาณ 0.278% การลงทุนประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่มีเวลาศึกษาและติดตามข่าวสารหุ้นได้ตลอดเวลา
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์หุ้นพิเศษ: สัญญาซื้อขายเก็งกำไรส่วนต่างราคา (CFD)
การซื้อขายหุ้นโดยปกติจะทำการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือผ่านสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการซื้อขายตราสารอนุพันธ์หุ้น CFD ถือเป็นทางเลือกพิเศษของนักลงทุนที่ประสงค์กำไรระยะสั้น กล่าวคือ เป็นการซื้อขายสัญญาเก็งกำไรส่วนต่างราคาของหุ้นที่ไม่มีการซื้อขายจำนวนหุ้น แต่จะได้กำไรหรือขาดทุนจากการทำนายเก็งกำไรราคาว่าหุ้นตัวนี้มูลค่าจะลดหรือจะเพิ่ม ซึ่งจะเรียกกันว่า Short หรือ Long selling ผู้ลงทุนไม่มีกรรมสิทธิ์ในตัวหุ้น ทำให้ไม่มีอำนาจบริหารจัดการบริษัทที่เก็งกำไรไว้ ทั้งนี้ การลงทุนซื้อขายอนุพันธ์ตราสาร CFD ยังไม่ถูกรับรองในประเทศไทย ดังนั้นการซื้อขายจะเป็นไปตามกฎระเบียบและวิธีดำเนินการตามสถาบันการเงินต่างประเทศที่โบรกเกอร์ CFDs สังกัดอยู่เป็นผู้กำหนด เช่น การกำหนดค่าธรรมเนียมสเปรด, สัดส่วนการซื้อขายด้วยเลเวอเรจและมาร์จิ้น และการลงทุนจำนวนเงินขั้นต่ำเป็นสกุลต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการช่วยนักลงทุนมือใหม่ในการตัดสินใจเปิดบัญชีลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์กับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาต หรือตราสารอนุพันธ์ผ่านโบรกเกอร์ CFDs นั่นก็คือ การศึกษาเงื่อนไขและประเภทการเปิดบัญชีและค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขายหุ้น
เงื่อนไขและประเภทในการเปิดบัญชีหุ้น
ประเภทบัญชีของพอร์ตหุ้นนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ บัญชีวางเงินล่วงหน้า(Cash Balance), บัญชีเงินสด(Cash Account) และ บัญชีกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์(Credit Balance) สำหรับมือใหม่ในการลงทุนหุ้นจะสามารถเปิดเป็นบัญชีประเภทแรก บัญชีวางเงินล่วงหน้า เป็นบัญชีที่นักลงทุนจะต้องฝากเงินสดเข้าไปจำนวนหนึ่ง ถึงจะสามารถทำคำสั่งซื้อหุ้นได้ เมื่อระบบดำเนินการซื้อเรียบร้อยแล้ว ผู้ลงทุนจึงจะได้สิทธิ์ในตัวหุ้นตามจำนวนที่ลงทุนไป การขายก็เช่นกัน เมื่อผู้ลงทุนต้องการทำคำสั่งขาย ผู้ลงทุนจะได้เป็นเงินที่ลงทุนคืนกลับมาในบัญชี ส่วนบัญชีประเภทที่สอง บัญชีเงินสด เป็นบัญชีที่นักลงทุนวางหลักประกันจำนวน 20% ของหุ้นที่ต้องการซื้อ โบรกเกอร์จะอนุมัติให้ผู้ลงทุนซื้อหุ้นได้มากกว่าจำนวนเงินที่นักลงทุนมี นักลงทุนจะต้องคืนเงินในส่วนที่โบรกเกอร์จ่ายล่วงหน้าไปตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกับโบรกเกอร์ไว้ และท้ายสุดบัญชีประเภทที่สาม บัญชีกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ เป็นบัญชีที่เหมาะแก่นักลงทุนที่มากประสบการณ์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันมากพอที่โบรกเกอร์จะเชื่อถือและออกเงินซื้อหุ้นให้ก่อน จากนั้นผู้ลงทุนจะต้องจ่ายเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามจำนวนและเงื่อนไขที่ได้ตกลงกับโบรก-เกอร์ไว้
นักลงทุนที่สนใจเปิดพอร์ตหุ้นบัญชีวางเงินล่วงหน้า ควรเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีธนาคาร
หากนักลงทุนต้องการเปิดบัญชีแบบ บัญชีเงินสด และ บัญชีกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ต้องแนบสำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน และควรมียอดเฉลี่ยของเงินหมุนเวียนตั้งแต่ 100,000 – 300,000 บาท
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการซื้อขายหุ้น
การเลือกเปิดพอร์ตหุ้นกับบริษัทฯที่มีอัตราค่าคอมมิชชั่นต่ำ จะทำให้ผู้ลงทุนได้กำไรสูงสุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก นักลงทุนมือใหม่มักจะได้ยินคำว่า “ค่าคอมมิชชั่น” ไม่ว่าผู้ลงทุนจะสั่งซื้อขายหุ้นเองผ่านแอปพลิเคชัน, เว็บไซต์ หรือสั่งผ่านโบรกเกอร์(นายหน้า)ของสถาบันการเงินที่ผู้ลงทุนได้เปิดพอร์ตไว้ สถาบันการเงินฯอาจเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป เช่น เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดการซื้อขายหุ้นทั้งหมด, ค่าคอมมิชชั่นรายวันขั้นต่ำ ณ วันที่มีการดำเนินการซื้อ-ขายหุ้น หรือค่าคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำต่อวัน อีกทั้งค่าคอมมิชชั่นจะมีอัตราที่แตกต่าง ขึ้นอยู่กับประเภทของบัญชีหุ้นอีกด้วย เช่น บัญชี Cash Balance ซื้อขายด้วยตัวเอง หรือ Cash Balance ซื้อขายผ่านโบรกเกอร์
รายละเอียด 12 โบรกเกอร์ที่น่าเปิดพอร์ตหุ้นด้วย สำหรับนักลงทุนมือใหม่
โบรกเกอร์สำหรับการซื้อขายหุ้นทั่วไป
1. บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรี
บริการแอปพลิเคชั่น: Krungsri Stock Expert
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.15%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.20%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.25%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี 50 บาทต่อวัน ณ วันที่ทำการซื้อขาย
2. บริษัทหลักทรัพย์กรุงไทย ซีมิโก้
บริการแอปพลิเคชั่น: WealthMe
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.157%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.257%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.257%
ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี
3. บริษัทหลักทรัพย์กสิกร
บริการแอปพลิเคชั่น: KS Super Stock
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.157%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.207%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.257%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี 50 บาทต่อวัน ณ วันที่ทำการซื้อขาย
4. บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต
บริการแอปพลิเคชั่น: Thanachart Think
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.15%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.20%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.25%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี 50 บาทต่อวัน ณ วันที่ทำการซื้อขาย
5. บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์
บริการแอปพลิเคชั่น: SCB Easy Invest
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.157%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.207%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.257%
ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี
6. บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง
บริการแอปพลิเคชั่น: Aspen Bualuang Trade
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance เริ่มต้นที่ 0.15%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.257%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี 100 บาทต่อวัน ณ วันที่ทำการซื้อขาย
7. บริษัทหลักทรัพย์ CGS CIMB
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.157%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.207%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.257%
ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี
8. บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (Maybank Kim Eng)
บริการแอปพลิเคชั่น: Maybank Trade
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.15%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.20%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.25%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี 50 บาทต่อวัน ณ วันที่ทำการซื้อขาย
9. บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance และ Credit Balance เริ่มต้นที่ 0.157%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Account เริ่มต้นที่ 0.207%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.257%
ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี
10. บริษัทหลักทรัพย์แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
ค่าธรรมเนียมบัญชี Cash Balance เริ่มต้นที่ 0.157%
ค่าธรรมเนียมบัญชี Credit Balance และ Cash Account เริ่มต้นที่ 0.207%
ค่าธรรมเนียมสำหรับทุกบัญชี บริการผ่านโบรกเกอร์ เริ่มต้นที่ 0.257%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับทุกประเภทบัญชี 30 บาทต่อวัน ณ วันที่ทำการซื้อขาย
โบรกเกอร์สำหรับตราสารอนุพันธ์หุ้น CFDs
11. Mitrade (จดทะเบียนภายใน Australia)
รองรับภาษาไทยและมีฝ่ายบริการลูกค้าคนไทย
ช่องทางการฝาก-ถอน: ผ่านบัญชีธนาคารไทย
เงินฝากขั้นต่ำในบัญชีเทรดออนไลน์ Mitrade 50 USD
ค่าธรรมเนียมสเปรดต่ำ
ไม่มีค่าธรรมเนียม
12. FxPro (จดทะเบียนภายใน UK)
รองรับภาษาไทยและมีฝ่ายบริการลูกค้าคนไทย
ช่องทางการฝาก-ถอน: ผ่านPayPal, Visa และ Skill
เงินฝากขั้นต่ำในบัญชีเทรดออนไลน์ FxPro 500 USD
ค่าธรรมเนียมสเปรดต่ำ
ไม่มีค่าธรรมเนียม
ทั้งนี้ การลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยงสูง ผู้ลงทุนควรศึกษาหาความรู้และระมัดระวังในการตัดสินใจ บทความนี้จัดทำขึ้นมา เพื่อแสดงถึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ลงทุนเท่านั้น และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบใด ๆ หากข้อมูลข้างต้นมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือผู้ลงทุนตัดสินใจผิดพลาดอันเป็นเหตุให้เสียทรัพย์สินเงินทอง
Comments
D. jhon shikon milon
Is this article helpful to you?
LikeReply