วิธีคิดดอกเบี้ย จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ? การจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตคืออะไร?

    การจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตคืออะไร?

    การจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต คือ วิธีการหรือทางเลือก สำหรับผู้ที่ใช้บัตรเครดิต แล้วไม่สามารถจ่ายหรือคืนค่าที่เสียไปได้ ซึ่งอาจจะมีผลต่อประวัติการเงินอีกด้วย โดยวิธีนี้ เราสามารถรักษาสถานภาพของประวัติการเงินได้อีกด้วย เหมาะสำหรับคนที่มีเงินที่ไม่เพียงพอ สำหรับการใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือบริการ และกำลังหาวิธีผ่อนชำระหรือจ่ายคืน ให้กับผู้ให้บริการบัตรเครดิตหรือทางธนาคาร ให้มีผลกระทบกับประวัติการเงินน้อยที่สุด


    หนี้ที่เกิดขึ้นจากการจ่ายขั้นต่ำ

    สาเหตุหลัก ที่คนนิยมที่จะสมัครบัตรเครดิตเป็นเพราะความเรียบง่าย และสะดวกสบายของการใช้บัตรเครดิตนั้นเอง ผู้คนเหล่านี้สามารถแสวงหาความสุข จากการใช้บัตรเครดิต ในการซื้อสินค้าโดยไม่ต้องกังวลหรือคำนึงถึงค่าใช้จ่าย ที่จะถูกเรียกเก็บตามมา เนื่องจากคนเหล่านี้มีตัวเลือกในการจ่ายคืนเงินที่ใช้ไป และนั่นคือการจ่ายราคาขั้นต่ำ แลกกับการจ่ายเงินขั้นต่ำนั้น จะมีดอกเบี้ยเข้ามาเพิ่มแทน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจะตกอยู่ที่ 18-20% ต่อปี แต่สำหรับผู้ที่ซื้อสินค้าผ่อนชำระโดยประมาท พวกเขาอาจตกใจเมื่อเห็นจำนวนการชำระเงินขั้นต่ำ ด้วยบัตรเครดิตที่มีมูลค่าสินค้าที่ต้องชำระเต็มจำนวนมากเกินไป ถ้าหากมีการสะสมอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ ไว้ อาจจะกลายเป็นหนี้สะสมระยะยาว และอาจกลายเป็นหนี้ก้อนโตโดยไม่รู้ตัว

    1.การคิดอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นแรก

    จำนวนเงินที่ค้างชำระ x อัตราภาษี (20%) x จำนวนวันที่ค้างชำระ/365 = จำนวนดอกเบี้ยในขั้นที่ 1

    2.การคิดอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นที่สอง

    จำนวนเงินที่ต้องชำระ-จำนวนเงินขั้นต่ำที่ชำระไปแล้ว x อัตราภาษี (20%) x จำนวนวันที่ค้างชำระ /365 = จำนวนดอกเบี้ยในขั้นที่ 2

    3.นำจำนวนดอกเบี้ยขั้นที่ 1 + จำนวนดอกเบี้ยขั้นที่ 2 = จำนวนที่ต้องจ่ายทั้งหมด

    (หมายความว่ายิ่งจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตขั้นต่ำนานเท่าไหร่หนี้ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง)



    ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงจ่ายขั้นต่ำ ?

    ความรับผิดชอบหลักในการเป็นเจ้าของบัตรเครดิต คือคุณควรจ่ายบิลให้มากที่สุดในแต่ละเดือน การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยง ในการจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมหาศาล เมื่อถึงวันครบกำหนดซึ่งมีสองทางเลือกให้เลือก คือจ่ายทั้งหมดหรือจ่ายขั้นต่ำ 10% ผู้คนส่วนใหญ่มักเลือกที่จะจ่ายเครดิตขั้นต่ำซึ่งคือ 10% ผู้คนมักจะเข้าใจผิดว่า การจ่ายเงินขั้นต่ำเป็นวิธีที่ดีกว่า ในการแก้ปัญหาทางการเงิน และนี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้คนจำนวนมากต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมาก ซึ่งจะสะสมและอาจนำไปสู่วงจรหนี้ที่ไม่รู้จบในอนาคต


    ข้อดีและข้อเสียของการจ่ายขั้นต่ำ

    1. ข้อดี
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินได้ดี
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ ช่วยรักษาสถานะการเงินด้วยการจ่ายในจำนวนที่น้อย
    • จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ไม่เสียประวัติการเงิน


    1. ข้อเสีย
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ ต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันแรกที่ทำการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านการรุดจ่าย
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ ดอกเบี้ยจะถูกคิดจากยอดที่ค้างชำระและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีใหม่
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ หากมียอดค้างชำระ ยอดใช้จ่ายใหม่ก็จะถูกคิดอกเบี้ยมากขึ้นตามไปด้วย
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ มีค่าบริการทวงถามหากไม่ทำการจ่ายตรงเวลา
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ อาจทำให้ต้องแบกรับอัตราหนี้สินเกินตัว
    • จ่ายบัตรเครดิตขึ้นต่ำ อาจถูกลดวงเงินอนมุติจากสินเชื่อให้น้อยลง

    วิธีคิดดอกเบี้ย จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ

    ในการคิดอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตนั้นจะตกอยู่ที่ 18-20% ซึ่งจะค่อนข้างสูงเลยทีเดียวจึงเป็นเหตุผลหลักในการหลีกเลี่ยงการจ่ายแบบขั้นต่ำเพราะยิ่งจ่ายบัตรขั้นต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก

    การคิดดอกเบี้ยจะถูกคิดเป็น 2 ส่วนหลักๆ

    1. ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย
    2. ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ

    ยกตัวอย่าง : ถ้าหากคุณใช้บัตรเครดิตซื้อโทรศัพท์ใหม่ในวันที่ 7 มีนาคม ด้วยจำนวน 35,000 บาท โดยมีรอบปิดยอดการใช้จ่ายทุกวันที่ 27 ของเดือนและเลือกที่จ่ายขั้นต่ำไปคือ 10% ในวันที่ 30 มีนาคม  (3,500 บาท)

    • ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย : โดยดอกเบี้ยอันแรกของคุณคือการใช้บัตรเครดิตซื้อโทรศัพท์ใหม่ในราคา 35,000 บาท และนับจากวันที่รูดถึงวันที่ปิดยอด ( 7 มีนาคม ถึง 27 มีนาคม) ประมาณ 10 วัน เเละอัตราดอกเบี้ยจะตกอยู่ที่18%

    จากสูตร : ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = วงเงินที่ใช้ไป X อัตราดอกเบี้ยต่อปี(18%) X จำนวนวันระหว่างเปิด-ปิดยอด / 365 วัน (ต่อปี) ∴ ดอกเบี้ยที่ใช้จ่าย = 35,000 บาท X ดอกเบี้ย 18% X 10 วัน / 1 ปี(365 วัน) = 172.62 บาท

    • ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ : เอาเงินที่ใช้ไปคือ 35,000 มาลบกับ 3,500 (10% การจ่ายแบบขั้นต่ำ) จะได้เงินต้นคงเหลือที่ 31,500 บาท โดยคิดจากวันที่เราชำระไปคือ 30 มีนาคม ถึงวันปิดยอดในรอบล่าสุดคือ 27 เมษายน รวม 29 วัน ด้วยดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 18%

    จากสูตร : ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ = เงินต้นคงเหลือที่จ่ายขั้นต่ำไป X ดอกเบี้ย 18% x (จำนวนวันที่ชำระ-วันปิดยอดในรอบล่าสุด)/ 365 วัน .∴ ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ = 31,500 บาท X ดอกเบี้ย 18% X 18 วัน / 1 ปี(ุ365 วัน) = 279.61 บาท

    เหตุผลที่ต้องหลีกเลี่ยงการจ่ายขั้นต่ำ

    1. ดอกเบี้ยสูงและจ่ายเป็นสองเท่า

    เมื่อเลือกการจ่ายเงินขั้นต่ำในวันที่ครบกำหนด ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยสูงถึง 18% ต่อปี และจะเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ ไม่เพียงเท่านั้นดอกเบี้ยจะถูกคิดเป็นรายวัน และการคำนวณดอกเบี้ยถูก

    ซึ่งหากจ่ายขั้นต่ำไปเรื่อย ๆ ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ และหากยิ่งทำการผ่อนนานก็สามารถพูดได้ว่า ผ่อนไม่หมดอาจก่อให้เกิดหนี้ได้

    2.ถ้าจ่ายขั้นต่ำ จะถูกยกเลิก ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย

    ** Interest - Free (ระยะปลอดดอกเบี้ย) คือช่วงเวลาที่ธนาคารหรือผู้ให้บริการบัตรเครดิตของคุณจะเรียกเก็บเฉพาะเงินต้นเท่านั้น โดยไม่เรียกเก็บดอกเบี้ย การปลอดดอกเบี้ยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ในรอบระยะเวลาบัญชี จนถึงวันครบกำหนดชำระของรอบบิลถัดไป

    วิธีการหลีกเลี่ยงการจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต

    มีหลากหลายวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้จากระบบชำระขั้นต่ำ เราขอแนะนำให้ทำตามแนวทางง่ายๆด้านล่างนี้

    1. รับผิดชอบโดยการตั้งเป้าหมาย หรือจำนวนเงินที่คุณต้องการใช้จ่ายในบัตรเครดิตในแต่ละเดือน เมื่อหากทำเช่นนี้คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเงินของคุณเองมากเกินไปและ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณมีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการควบคุมค่าใช้จ่ายบัตรเครดิตของคุณเอง
    2. คิดก่อนรูดใช้บัตรเครดิตด้วยความระมัดระวัง จำไว้เสมอว่ายิ่งใช้มากดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้น
    3. ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตรายเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องรับมือกับดอกเบี้ยระยะยาว
    4. วางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างดีและเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตหากไม่จำเป็นจริงๆ
    5. ลองหักเงินจากบัญชีออมทรัพย์ทุกครั้งที่ใช้บัตรเครดิต
    6. วางแผนการใช้จ่ายเงิน ในระหว่างการชำระเงินขั้นต่ำพยายามปิดหนี้โดยการจ่ายเงินบ่อยๆเพื่อปิดช่องว่าง

    Comments

    • December 7, 8.00
      D. jhon shikon milon

      Is this article helpful to you?

      LikeReply